My pix

My pix

วันอาทิตย์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ปรีดีกับเเผนการปลงพระชนม์รัชกาลที่ 8

วันพุธที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

ฉลองมิตรภาพ500ปี สัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส

วันที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7466 ข่าวสดรายวัน

โดย ณอร อ่องกมล
ที่มา


















เมื่อ เอ่ยถึงโปรตุเกส สิ่งที่ทำให้คนไทยนึก ถึงอาจเป็นขนม "ฝอยทอง" ตามฉายาของประเทศนี้ ซึ่งเป็นขนมที่เผยแพร่เข้ามาในไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสตรีนามว่า ดอญา มารี กีมาร์ เดอ ปีนา หรือ ท้าวทองกีบม้า

ส่วนบรรดาแฟนฟุตบอลยุโรป อาจนึกถึงนักเตะซูเปอร์สตาร์อย่าง คริสเตียโน่ โรนัลโด้, หลุยส์ นานี่ หรือ โค้ชจอมซ่า โฮเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งออกแอ๊กชั่นให้ชมกันทุกสัปดาห์

แต่ความสัมพันธ์ของไทยกับโปรตุเกสไม่ได้มีผิวเผินเพียงเท่านี้ ในด้านประวัติศาสตร์ ไทยและโปรตุเกสดำเนินความสัมพันธ์มาครบถึง 500 ปีแล้วในปีนี้ เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และนานที่สุดในบรรดาประเทศยุโรปที่มาเยือนสยามประเทศ

มอง ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2054 (ค.ศ. 1511) โปรตุเกสเริ่มทำการค้ากับประเทศในแถบเอเชีย และยึดครองดินแดนมะละกาได้เป็นที่สำเร็จ อะโฟซู เดอ อะบูแคร์ก ส่งทูตที่มีนามว่า ดูอาร์ต เฟอร์นันเดส เข้ามายังราชสำนักในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการเข้ามายังประเทศสยามมิได้มีเจตนาอันเป็น ปฏิปักษ์แต่อย่างใด

ผลพลอยได้จากการเจรจาในครานั้น ชาวโปรตุเกสหลายคนได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เป็นที่ดินและการอนุญาตให้ตั้งรกรากในสยามได้ ส่งผลให้การค้าขาย และการเผยแผ่ศาสนาเกิดขึ้น รวมไปถึงความรู้ทางยุทธศาสตร์การรบและอาวุธสมัยใหม่ ที่ โปรตุเกสเชี่ยวชาญ ช่วยให้สยามรักษาอธิปไตยในช่วงสงครามกรุงศรีอยุธยาไว้ได้


1.-โบสถ์ซางตาครู้ส

2.-โบสถ์คอนเซ็ปชัญ

3.-ภาพศิลปะไทย-โปรตุเกส

4.-โถงรับแขกภายในสถานทูตโปรตุเกส

5.-ห้องแต่งตัวของท่านทูต

6.-ดร.จอร์เจ ตอร์ริช เปเรย์รา

7.-ภาพเขียนสถานกงสุลและบ้านมิชชันนารี




ครั้น เมื่อสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบที่ดินเพื่อก่อตั้งโบสถ์ อันเป็นศาสนสถานให้ชาวคริสตังโปรตุเกสประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างอิสระ

โบสถ์คอนเซ็ปชัญ โบสถ์คาทอลิกที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นหลังแรกที่ก่อสร้างขึ้น

เมื่อสิ้นสุดสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระ ราชทานที่ดินในราชธานีกรุงธนบุรี เพื่อสร้างโบสถ์ซางตาครู้ส

และในสมัยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ก็ได้พระราชทานที่ดินอีกแปลง เพื่อสร้างวัดพระแม่ลูกประคำ กาลหว่าร์

ในปีพ.ศ.2329 ชาวโปรตุเกสและคริสตังไทยเชื้อสายโปรตุเกส ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ทั้ง 3 แห่งนี้ จนปัจจุบันกลายเป็นชุมชนไทย-โปรตุเกส ที่ลูกหลานสองเชื้อชาติยังคงสืบทอดวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษเอาไว้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง 


เพื่อ เรียงร้อยเรื่องราวความน่าสนใจของชีวิตชาวโปรตุเกส ในวาระแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุ เกส สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศ การที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องจนถึงปลายปี



-บ้านพักรับรอง สถานทูตโปรตุเกส


ดร.จอร์ เจ ตอร์ริช-เปเรย์รา เอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย กล่าวว่า นิทรรศการจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. เป็นต้นไป เริ่มจากนิทรรศการ "การสืบสานมรดกทางประวัติ ศาสตร์ของโปรตุเกสทั่วโลก" ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิกาลูสต์ กุลแบงเกียน ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

นำเสนอประวัติศาสตร์การขยายอิทธิพลทางทะเลของโปรตุเกส และร่องรอยการแลกเปลี่ยนทางวัฒน ธรรมนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา

รวมถึงการจัดแสดงแหล่งโบราณสถานโปรตุเกส ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว

จาก นั้นในวันที่ 3 มิ.ย. เป็นกิจกรรม "ทัศนศึกษาครึ่งวันตามรอยโปรตุเกส" ด้วยการเยี่ยมชมสถานเอกอัครราชทูตและทำเนียบเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในปีพ.ศ.2403 กับรูปลักษณ์ศิลปะสมัย โคโลเนียล พร้อมเครื่องเรือนที่สืบทอดมาจากอดีตโดยเอกอัครราช ทูตนำชมด้วยตนเองพร้อมเยี่ยมชมวัดพระแม่ลูกประคำ กาลหว่าร์ โบสถ์คอนเซ็ปชัญ โบสถ์ซางตาครู้ส และแวะรับประทานขนมกุฎีจีน ขนมดั้งเดิมของโปรตุเกส

วัน ที่ 7 ก.ค. เป็นนิทรรศการ "อิทธิพลร่วมระหว่างศิลปะไทยและศิลปะโปรตุเกสที่มีต่อกัน" เป็นการนำผลงานการแกะสลักจากงาช้างและหีบโบราณ งานศิลปะที่ ตาวูรา ซือเกยรา ปิงตู นักสะสมศิลปะชาวโปรตุเกส นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ

ใน เดือนตุลาคมกับนิทรรศการศิลปะ "ภาพแห่งความประทับใจ ไทย-โปรตุเกส" ที่ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม จัดแสดงภาพถ่ายและภาพวาดความประทับจาก 2 ศิลปิน 2 สัญชาติ ไทย-โปรตุเกส เมื่อครั้งได้ไปเยี่ยมเยือนดินแดนของกันและกัน

วันที่ 13 ต.ค. รับฟังการขับร้องเพลง "ฟาดู" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางดนตรีของโปรตุเกส ในงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ ครั้งที่ 13 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยศิลปินดนตรีฟาดูระดับโลก คาเทีย กือเรยรู

ปิด ท้ายการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้วยการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส" ระหว่างวันที่ 2-4 พ.ย. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การจัดกิจกรรมต่างๆ ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะยกระดับและขยายขอบเขตความร่วมมือ และการทำธุรกิจที่จะเป็นประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย

โปรตุเกสเป็นประเทศ แรกๆ ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การผูกมิตรของ 2 ประเทศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การรักษามิตรภาพที่ดีต่อกัน แม้เวลาจะผ่านไปนานกว่าครึ่งศตวรรษนั้นสำคัญยิ่งกว่า

เพราะแสดงถึงความเป็นมิตรประเทศที่แท้จริง

วันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

Malaysia blames Thailand over Cambodia border clash

By Bangkok Pundit May 09, 2011 6:36PM UTC


"Thailand and Cambodia agreed in February to accept Indonesian military observers on the border but the initiative remains on ice due to Thai demands that Cambodia first pull troops out of the temple.
“An agreement had been agreed upon, (Thailand) should adhere to it, I wouldn’t want to say lacking in faith… (but) they did not adhere to the agreement,” Malaysian deputy foreign minister Richard Riot Jaem told reporters.
“Thailand refused and that’s why the skirmish came again,” said Riot, who attended the Association of Southeast Asian Nations (ASEAN) meeting where it was agreed 30 observers would be stationed on either side of the border.
“All the 10 countries, I stress, including Thailand and Cambodia, agreed to the agreement but sad to say, the agreement was brought back to the respective two countries. Cambodia accepted it, Thailand did not accept,” he said.
Before this, Cambodia was pointing at Thailand as starting the attack and Thailand said it was Cambodia who started …so to (determine) who started the skirmish… the foreign ministers decided to assign obervers.”
BP: One of the problems regarding the conflict is that it has become as he said/she said debate with Cambodia blaming Thailand and Thailand blaming Cambodia. Both sides have their own version of the “truth”. Outsiders have mainly kept quiet, or at least publicly. The statement above by the Malaysian deputy foreign minister is fairly clear in its criticism of Thailand. In fact, it is rather surprising that there is such a statement! However, expect statements from the Thai side that Malaysia “understands” the Thai position and he was not criticizing Thailand. The Malaysian position is fairly simple. A deal was agreed upon by all sides a few months ago and now Thailand is not willing to agree to that.
Now, having said that the latest clashes occurred in Surin Province and not near Preah Vihear where the observers are meant to be located so there is a question whether the observers at Preah Vihear could prevent clashes in Surin so perhaps some should also be situated at other hot spots too….
Now, Malaysia is not blaming Thailand for starting the clashes, but they do appear to be holding Thailand responsible for what has transpired with the recent clash.
btw, will PAD march in front of the Malaysian Embassy to protest foreign “interference” as they did with the Indonesians?

วันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สงครามเกาหลี...



ภาพเหตุการณ์ในสงครามเกาหลี (วิกิพีเดีย) (เรียงลำดับตามเข็มนาฬิกาจากล่างสุด) : ร้อยโทบัลโดเมโร โลเปซ แห่งนาวิกโยธินสหรัฐฯ นำกำลังพลเคลื่อนเข้าสู่เมืองอินชอน; กองทัพสหประชาชาติข้ามเส้นรุ้งที่ 38 องศาเหนือ; กองทหารสหรัฐฯ จับเชลยฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนในแนวรบเกาหลีตอนกลางที่เมืองฮองซอง; เครื่องบินบี-26 ของกองทัพอากาศเกาหลีที่ 5 ทำการทิ้งระเบิดใส่เป้าหมายของเกาหลีเหนือ; เด็กหญิงชาวเกาหลีอุ้มน้องชายหนีภัยสงครามมายังฝั่งเกาหลีใต้

คมชัดลึก &สนุก! พีเดีย : หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เกาหลีถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน โดยเส้นขนานที่ 38 ส่วนหนึ่งเกาหลีเหนือเป็นเขตอุตสาหกรรมของประเทศในขณะนั้น อยู่ในความควบคุมของรัสเซียหรือว่าสหภาพโซเวียต ส่วนเกาหลีใต้ส่วนใหญ่เป็นเขตเกษตรกรรม อยู่ในความควบคุมของสหรัฐอเมริกา
ประเทศเกาหลีโดนยึดครองโดยประเทศญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง หลังจากญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้ ฝ่ายพันธมิตรได้แบ่งดินแดนของเกาหลีเป็นสองส่วน โดยส่วนเหนือยอมแพ้ต่อโซเวียต และส่วนใต้ยอมแพ้ต่อสหรัฐอเมริกา มีเส้นแบ่งอยู่ที่เส้นขนานที่ 38 ทางสหประชาชาติมีแผนจะจัดการเลือกตั้งใน ค.ศ. 1948 แต่ได้รับการปฏิเสธจากโซเวียต และตั้งรัฐบาลคอมมิวนิสต์ขึ้นมาเอง
 

วันที่ 25 มิถุนายน ค.ศ. 1950 ทหารฝ่ายเกาหลีเหนืออาศัยอาวุธยุทโธปกรณ์ของโซเวียตบุกข้ามเส้นขนานที่ 38 ลงมา วันที่ 28 มิถุนายน ก็สามารถยึดกรุงโซลได้ สหรัฐอเมริกาภายใต้การนำของประธานาธิบดีแฮร์รี เอส. ทรูแมน ได้สั่งการให้นายพลดักลาส แมคอาเธอร์ ผู้บัญชาการภาคพื้นแปซิฟิกในขณะนั้น ให้ทำการตอบโต้

ประวัติศาสตร์ว่าด้วยสงครามเกาหลีได้บันทึกเอาไว้ว่า ผู้บุกรุกมีความกล้าหาญอย่างบ้าคลั่ง ทั้งด้วยอาวุธที่มีและทหารที่มากกว่า ซึ่งผ่านประสบการณ์รบในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาแล้วอย่างโชกโชน และเป็นที่รู้กันดีว่ามีกองทัพจีนคอมมิวนิสต์หนุนหลังอยู่

 กล่าวกันว่าจีนต้องการแสดงให้โลกเห็นว่าสามารถที่จะเข้ายึดเอเชียเมื่อไหร่ก็ได้ ในขณะที่รัสเซียก็คาดว่า อเมริกาคงจะไม่เข้ามายุ่งด้วย เพราะอยู่ห่างจากคาบสมุทรเกาหลีออกไปถึง 7,000ไมล์ แต่ก็คาดผิด
 เพราะทั้งอเมริกาและองค์การสหประชาชาติที่เพิ่งจะตั้งมาได้ 5 ปี ต่างร่วมมือกันเข้าช่วยเกาหลีใต้ในนามของกลุ่มประเทศโลกเสรี มีจุดหมายเพื่อต่อต้านคอมมิวนิสต์ผู้รุกรานโดยตรง
 สงครามบนคาบสมุทรเกาหลีเมื่อ 60 ปีก่อนจึงเท่ากับสงครามแรกในยุคโลกสงครามเย็นอันเป็นสงครามตัวแทนระหว่างค่ายเสรีกับค่ายคอมมิวนิสต์ที่ไม่มีการประกาศเป็นทางการแต่อย่างใด
 ฝ่ายเกาหลีเหนือมีจีนกับสหภาพโซเวียต ส่วนฝ่ายเกาหลีใต้มีสหรัฐอเมริกากับสหประชาชาติอันประกอบไปด้วยแคนาดา อังกฤษ ฝรั่งเศส ออสเตรเลีย ฯลฯ และรวมทั้งไทยเราด้วย
 สงครามเกาหลีนับว่าเป็นสงครามที่นองเลือดรุนแรงมากที่สุดครั้งหนึ่ง
 การรบเท่าที่ประวัติศาสตร์ได้บรรยายไว้ว่าทั้งสองฝ่ายสู้กันในภูมิประเทศส่วนใหญ่ที่เป็นทั้งภูเขาสูงขรุขระ หุบเหวลึกและแม่น้ำลำธารที่คดเคี้ยวไปมาอย่างเอาแน่ไม่ได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูหนาวที่สยดสยองทารุณทั้งจากอากาศที่เย็นเยือก และมีลมพัดแรงอยู่ตลอดเวลา
 ทั้งสองฝ่ายต่อสู้กันอย่างดุเดือดทั้งด้วยทหารราบบนพื้นดิน เครื่องบินรบในอากาศ และเรือรบในทะเล และทั้งจากอาวุธนานาชนิดที่ได้พัฒนามาจากสงครามโลก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบิน รถถัง ปืนใหญ่ ปืนกล และระเบิดเพลิงอย่างนาปาล์ม
 ว่ากันว่ารถถัง เครื่องบินเจ็ตของรัสเซียมีพลังอำนาจมาก แต่เครื่องบินของอเมริกาและอังกฤษยิ่งมีประสิทธิภาพในการทำลายล้างได้มากกว่า เพราะสามารถเข้าโจมตีข้าศึกแบบปูพรมได้ถึงพันครั้งต่อวัน
 ทั้งสองฝ่ายจึงสู้กันอยู่ในท่ามกลางกองซากศพจำนวนมหาศาล
 เมื่อแรกฝ่ายเกาหลีใต้ถอยร่นเกือบตกทะเลแต่ต่อมาก็ตีโต้และรุกคืบเข้าจนถึงเปียงยางเมืองหลวงของเกาหลีเหนือ ก่อนที่ทั้งอเมริกา รัสเซียและจีนจะได้คิดว่า อาจจะเกิดสงครามโลกครั้งที่ 3 ขึ้นได้ ทั้งสองฝ่ายจึงได้เจรจาทำสัญญาสงบศึกต่อกันพร้อมกับที่ต่างถอยมาตั้งหลักอยู่ในที่เดิมหลังจากที่รบกันมา 3 ปีเต็มพอดี สงครามเกาหลี ฝ่ายโลกเสรีสูญเสียทหารไปกว่า 4 แสนคน ทั้งที่ถูกฆ่าตาย ตายด้วยโรคภัยไข้เจ็บ บาดเจ็บ และพิการอีกนับแสน และในจำนวนนี้เป็นทหารอเมริกันกว่า 1.3 แสนคน ส่วนฝ่ายคอมมิวนิสต์กล่าวกันว่า มากกว่าถึง 4 เท่าตัว อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 1.5 ล้านคน
 ถือเป็นสงครามที่นองเลือดน่าสยดสยองมากที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ ดังนั้นจึงไม่น่าเชื่อว่าจะเกิดขึ้นมาอีก นอกจากการซ้อมรบอย่างที่เห็นกันอยู่

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

สหรัฐอเมริกา; ความมั่นคงศึกษา – เมื่อถึงเวลาทหารกลับบ้าน แล้วไปเลือกประธานาธิบดี

พันเอก ดร.ธีรนันท์ นันทขว้าง
นักวิชาการด้านความมั่นคงอิสระ





             ข่าวการเสียชีวิตของ อุซามะห์ บิน ลาดิน (Osama Bin Laden) ผู้เป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้งและหัวหน้ากลุ่มอัลกออิดะห์ ซึ่งเป็นกลุ่มก่อการร้ายสากลมุสลิมนิกายซุนนี จากการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐอเมริกา ได้ปรากฏเป็นข่าวที่ตามสื่อทั่วโลก นอกจากนี้ได้มีประชาชนสหรัฐฯ จำนวนมากออกมาเฉลิมฉลอง แสดงความยินดีเป็นจำนวนมาก ส่วนหนึ่งที่เป็นเช่นนี้เพราะ มีความรู้สึกสะใจ หรือ ดีใจ ที่ความรู้สึกเจ็บปวดจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 ก.ย. 44 ได้รับการสะสางหรือแก้แค้น

            อย่างไรก็ตามความดีใจเกิดขึ้นได้ไม่นานก็ปรากฏข่าวสารต่างๆ ที่ทะยอยออกตามมา ภายหลังจากการประกาศอย่างเป็นการว่า บิน ลาดิน ได้เสียชีวิต โดย บารัก โอบามา ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ว่าให้ระมัดระวังการก่อการร้ายในระดับที่สูงสุด เนื่องจากมีความเป็นไปได้ว่าจะมีการแก้แค้นให้กับ บิน ลาดิน โดยกลุ่มก่อการร้าย

            นอกจากนี้การเสียชีวิตของบิน ลาดิน กับกลายมาเป็นคำถามว่าเขาเสียชีวิตจริงหรือไม่ เพราะมีการส่งภาพที่ตกแต่งโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ แพร่กระจายอยู่บนอินเตอร์เน็ต ประกอบกับการปฏิบัติการต่างๆ เป็นไปอย่างรวดเร็ว รวมถึงการฝังศพ และ การตรวจ DNA ยืนยัน ทำให้หลายๆ ฝ่ายต่างกังขากับข่าวสารที่ออกมา ถึงแม้จะมีการแถลงการณ์อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดี โอบามา ยืนยันก็ตาม แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ผลกระทบจากการแถลงการณ์ฯ และการเสียชีวิตของ บิน ลาดิน จะนำไปสู่อะไรนั้นเป็นเรื่องที่ต้องรอการพิสูจน์ต่อไป แต่จากนี้ไป กองกำลังของสหรัฐฯ คงจะได้กลับบ้านเพราะภารกิจที่สำคัญได้เสร็จสิ้นลงแล้ว


สถานะปัจจุบันของทหารสหรัฐฯ ในอัฟกานิสถาน และอิรัก

            ปัจจุบันกองทัพสหรัฐฯ มีกำลังพลประจำการในอัฟกานิสถาน 90,000 นาย ภายใต้การนำของ องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ (North Atlantic Treaty Organization : NATO) หรือที่เรียกว่า นาโต้ โดย สหรัฐฯ ได้สูญเสียกำลังไปในสมรภูมิอัฟกานิสถาน 1,406 นาย บาดเจ็บ 10,944 นาย กองกำลังรับจ้างของสหรัฐฯ (Private Military Company or Contractors) เสียชีวิต 1,764 คน และบาดเจ็บ 11,758 คน (ยอดวันที่ 4/5/54 จากเวบ Wikipedia) นับตั้งแต่สหรัฐฯ เริ่มส่งกำลังเข้าไปในอัฟกานิสถาน เมื่อเกือบ 10 ปีก่อนหน้านี้ ภายหลังจากเหตุการณ์ก่อวินาศกรรม 11 ก.ย. 44 ด้วยข้อกล่าวหาให้ที่พักพิงผู้ก่อการร้าย

            ส่วนในพื้นทีใกล้เคียงอย่างอิรัก ปัจจุบัน สหรัฐฯ มีทหารประจำการอยู่ 47,000 นาย เสียชีวิตทหารไป 4.444 นาย บาดเจ็บ 32,051 นาย เป็นทหารชาย 98% ชั้นประทวน 91% ทหารประจำการ 82% กองกำลังทหารป้องกันชาติ (National Guard) 11% ทหารที่เสียชีวิตที่อายุต่ำกว่า 25 ปี 54% ทหารบกเสียชีวิตมากที่สุด 72% สำหรับผู้บาดเจ็บ ที่สาหัสนั้นมีถึง 20% (ข้อมูลจาก เวบ usliberals.about.com)

            สำหรับค่าใช้จ่ายของสหรัฐฯ ในส่งกองกำลังทหารออกมาประจำการในอัฟกานิสถาน ทางส่วนงานวิจัยของสภาสหรัฐฯ (The Congressional Research Service (CRS)) ประมาณค่าใช้จ่ายอยู่ที่ประมาณ 3.6 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน (ประมาณ 108 พันล้านบาทต่อเดือน) และรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มส่งกำลังเข้าไปในอิรัก นั้นปัจจุบัน ใช้งปประมาณไปกว่า 4.01 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 120.3 ล้านล้านบาท)

            ส่วนอิรักนั้นสหรัฐฯ มีค่าใช้จ่ายที่สูงกว่า โดยทางส่วนงานวิจัยของสภาสหรัฐฯ (The Congressional Research Service (CRS)) และ อิโคโนมิสต์ (The Economist) ได้ประมาณการค่าใช้จ่ายของสหรัฐฯ ว่าใช้งบประมาณ 2 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อสัปดาห์ (ประมาณ 6 หมื่นล้านบาทต่อสัปดาห์) ไปจนถึง 12 พันล้านเหรียญสหรัฐต่อเดือน (ประมาณ 36 หมื่นล้านบาทต่อเดือน) และรวมค่าใช้จ่ายตั้งแต่เริ่มส่งกำลังเข้าไปในอิรัก นั้นปัจจุบัน ใช้งปประมาณไปกว่า 7.88 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 236.4 ล้านล้านบาท)

            ค่าใช้จ่ายรวมทั้งในอัฟกานิสถานและอิรักจนถึงปัจจุบันนั้นสหรัฐฯ ใช้งบประมาณรวม 11.89 แสนล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 356.7 ล้านล้านบาท) หากอยากทราบว่าเป็นงบประมาณทีมากแค่ไหน ให้ลองเปรียบเทียบดูกับ GDP ของประเทศไทยในปี 53 อยู่ที่ 584.768 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว สหรัฐฯ จะมีค่าใช้จ่ายในสงครามอิรักและอัฟกานิสถาน ต่อปีนั้นประมาณหนึ่งในสามของ GDP ประเทศไทย

            ส่วนสาเหตุที่ค่าใช้จ่ายในอิรักของสหรัฐฯ ใช้งบประมาณที่สูงกว่าค่าใช้จ่ายในอัฟกานิสถาน เพราะสหรัฐฯ รับผิดชอบการปฏิบัติการในอิรักทั้งหมด ส่วนในอัฟกานิสถานนั้น องค์การสนธิสัญญาป้องกันแอตแลนติกเหนือ จะเป็นผู้ที่รับผิดชอบหลัก สหรัฐฯ นั้นเพียงแต่ส่งกำลังทหารเข้าร่วม (เข้าร่วมในสัดส่วนมากที่สุด) โดยในสหรัฐฯ นั้นมีหน่วยงานและองค์กรต่างๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลสหรัฐฯ ในการส่งกำลังทหารเข้าไปใน อิรักและอัฟกานิสถาน ได้พยายามเผยแพร่ข้อมูลงบประมาณ และการสูญเสีย ตัวอย่างเช่น ในเวบไซต์ cost of war ได้แสดงค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นตลอดเวลาในหลักวินาที


นโยบายพาทหารกลับบ้าน

            หากย้อนไปในช่วงก่อนที่ประธานาธิบดี โอบามา จะขึ้นรับตำแหน่งนั้น สิ่งที่ปรากฏให้เห็นชัดเจนคือ เขามีนโยบายที่สวนทางกับ อดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช ในเรื่องการทำสงครามกับอิรัก ประธานาธิบดี โอบามา นั้นมีท่าที่ต่อต้านการทำสงครามกับอิรัก และยังเคยหาเสียงด้วยซ้ำว่า หากเขาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานธิบดีสหรัฐฯ เขาจะถอนกำลังออกจากอิรักภายใน 16 เดือน

            นอกจากนี้ ประธานาธิบดี โอบามา ยังได้แสดงเจตจำนงค์ตอนหาเสียงเลือกตั้งประธานาธิบดีว่า ถ้าหากเขาได้รับเลือกตั้ง เขาจะออกกฎหมายตัดงบประมาณประมาณ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เพื่อยุติการจัดหาอาวุธยุทโธปกรณ์ที่ไม่สามารถพิสูจน์ที่มาได้ เพื่อนำมาใช้ในระบบการป้องกันประเทศ มีแนวคิดที่จะลดการพัฒนาขีดความสามารถทางการรบและระบบอาวุธลง รวมถึงการกำจัดอาวุธนิวเคลียร์ทั้งหมด โดยเริ่มจากการลดการสั่งสมอาวุธนิวเคลียร์ที่มีประจำการในปัจจุบันลง อีกทั้งออกกฎหมายห้ามการผลิตหรือหาวัตถุดิบในการผลิตอาวุธ จากทั่งโลก รวมถึงความพยายามในการหาทางเจรจากับรัสเซียเพื่อลด ขีปนาวุธติดหัวรบนิวเคลียร์ เพื่อนำไปสู่ความสัมพันธ์ที่ดีขึ้นระหว่าง สหรัฐฯ กับรัสเซีย

            ต่อมาเมื่อโอบามาได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี และเข้ารับตำแหน่งเมื่อ 19 ม.ค.52 และ เมื่อ เม.ย.52 ประธานาธีบดี โอบามา ได้เดินทางไปที่อิรัก และกล่าวว่า เขาจะลดทหารสหรัฐฯ และถอนกำลังทหารออกจากอิรักลงในห้วงเวลา 18 เดือนข้างหน้า และให้ชาวอิรัก เลือกแนวทางความมั่นคงและรับผิดชอบตนเอง หลังจากการตัดสินใจยุติภารกิจในอิรัก โดยการค่อยๆ ลดกำลังทหารสหรัฐฯ ที่ประจำการลง ทำให้สหรัฐฯ สามารถที่จะเพิ่มกำลังทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานได้ ต่อมาเมื่อ ธ.ค.52 ประธานาธิบดี โอบามา ได้ประกาศเพิ่มทหารเข้าไปในอัฟกานิสถานจำนวน 35,000 นาย ตามที่ผู้บัญชาการกองทัพสหรัฐฯ และองค์การนาโตในอัฟกานิสถาน ร้องขอ


ภาพที่ 1 สถิติการเสียชีวิต International Security Assistance Forc: ISAF ในอัฟกานิสถาน



        ในภาพที่ 1 แสดงให้เห็นระดับความรุนแรงของสถานการณ์ที่มีทิศทางที่รุนแรงมาในห้วง ปี 50 และสถานการณ์มีความรุนแรงขึ้นเรื่อย จนกระทั้ง สหรัฐฯ เพิ่มกำลังเข้าไปในอัฟกานิสถาน ในปี 53 โดยการปฏิบัติการทางทหารที่เพิ่มมากขึ้นได้ส่งผลให้ กองกำลัง ISAF เริ่มทำการรุก ทำให้กลุ่มตาลีบาน เสียชีวิตไปกว่า 900 คน และในช่วงดังกล่าวมีการใช้ ระเบิดแสวงเครื่อง (Improvised Explosive Device) จำนวนมาก และส่งผลให้ทหารของ ISAF ที่มีสหรัฐฯ ประจำการเป็นจำนวนมาก และมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นตามไปด้วย

            แต่บนการปฏิบัติการทางหหารที่เพิ่มมากขึ้น ในทางกลับกัน ก็เริ่มมีการผลักดันใหเกิดการเจรจา โดยประธานาธิบดี ฮามิด การ์ไซ (Hamid Karzai) ของอัฟกานิสถาน เพื่อให้เกิดสันติภาพมากขึ้นไป โดยความพยายามจะเจรจากับกลุ่มตาลีบาน พร้อมๆ กับการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ แต่ในช่วงเดือน ก.ค53 สหรัฐฯ ก็เริ่มประสบปัญหาในการปฏิบัติการพอสมควร เนื่องจากชาวบ้านไม่ชอบทหาร ไม่ยอมรับความช่วยเหลือต่างๆ จากกองทัพสหรัฐฯ และรวมไปถึงการขว้างปาหินใส่กองกำลังทหารสหรัฐฯ ขณะกำลังลาดตระเวณ

            แต่อย่างไรก็ตามตลอดช่วงปี 53 สหรัฐฯ ได้เพิ่มระดับการปฏิบัติการทางทหารจำนวนมาก เพื่อกดดันกับกลุ่มตาลีบาน และสหรัฐฯ ยังมีแผนที่จะถอนกำลังออกจาก อัฟกานิสถาน โดยส่งมอบการรักษาเสถียรภาพให้กับกองกำลังรักษาความปลอดภัยของอัฟกานิสถาน ในเดือน ก.ค.54 ดังจะเห็นได้จากการเร่งสร้างกองทัพกองทัพบกอัฟกานิสถาน จำนวน 134,000 นาย เมื่อ ต.ค.53 และมีเป้าหมายให้กองทัพอัฟกานิสถานมีกำลังทหารบก 171,000 นาย ภายในปี 54

ภาพที่ 2 แสดงระดับกำลังสหรัฐฯ ที่ประจำการในอิรัก


            ในสำหรับสถานการณ์ในอิรัก ภาพที่ 2 จะแสดงให้เห็นถึงกำลังทหารประจำการในอิรักมีแนวโน้มที่ลดลงตามนโยบายของ ประธานาธิบดี โอบามา ประกาศไว้เมื่อ 1 ก.ย.53 อย่างเป็นทางการว่าจะยุติภารกิจสู้รบของทหารอเมริกันในอิรักที่ดำเนินมานาน 7 ปี และบอกกับชาวอเมริกันว่าภารกิจหลักคือการฟื้นฟูเศรษฐกิจสหรัฐ โดยกล่าวชมกองทัพว่าได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างกล้าหาญ เสียสละ รวมถึงกล่าวว่าภารกิจสู้รบของทหารอเมริกันในอิรักได้ยุติลงแล้ว ต่อจากนี้ไปสหรัฐฯ จะเริ่มถอนกำลังออกจากอิรัก และให้ชาวอิรักจัดการและรับผิดชอบดูแลความมั่นคงของประเทศตนเอง และเขายังได้กล่าวยืนยันว่าเขาได้ทำตามสัญญาที่ให้ไว้ก่อนการเลือกตั้งว่าเขาจะนำทหารสหรัฐฯ กลับบ้าน

            ผลจากการประกาศยุติการส่งทหารเข้าไปประจำการในอิรัก ของประธานาธิบดี โอบามา ได้มีนักวิเคราะห์หลายคนได้มองว่าการตัดสินใจของประธานาธิบดี โอบามา ครั้งนี้จะส่งผลต่อคะแนนนิยมของเขา 4 ด้านคือ

                1) เป็นการทำตามนโยบายที่ได้ให้ไว้ก่อนการเลือกตั้ง ทำให้ได้คะแนนนิยมในด้านการเป็นผู้นำ

                2) เป็นการประหยัดงบประมาณจำนวนมหาศาลที่สหรัฐฯ ต้องจ่ายเพื่อทำสงคราม ซึ่งจะส่งผลให้ได้คะแนนนิยมในด้านเศรษฐกิจ

                3) เป็นการสงวนทรัพยากรทางทหารเพื่อให้สหรัฐฯ สามารถบริหารจัดการกิจการด้านความมั่นคงได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับคะแนนนิยมในด้านความมั่นคง

                4) เป็นการเพิ่ม บทบาทที่ดีขึ้นกับประเทศมุสลิม หากมีการถอนทหารออกจากพื้นที่ตะวันออกกลางจริง ซึ่งจะส่งผลให้ได้รับคะแนนนิยมในด้านกิจการต่างประเทศและการทูต



ผลจากการปฏิบัติการสังหารบิน ลาเดน

            จากที่กล่าวมาในข้างต้น จะเห็นได้ว่าการที่สหรัฐฯ ส่งกำลังทหารออกมายังตะวันออกกลาง เป็นระยะเวลานาน ด้วยสาเหตุเริ่มแรกคือ ภายหลังจากการก่อวินาศกรรม 11 ก.ย.44 ด้วยการกล่าวหาว่ากลุ่มอัลกออิดะห์ ที่มี นาย บิน ลาเดน เป็นผู้อยู่เบื้องหลัง จากวันนั้นถึงวันนี้ผ่านมากว่า 10 ปี สหรัฐฯ ได้สูญเสียงบประมาณ จำนวนมหาศาล และชีวิตทหารจำนวมาก และยังไม่มีแนวโน้มที่สถานการณ์ต่างๆ จะดีขึ้น ประกอบกับการเข้าการส่งกำลังออกไปยังอัฟกานิสถานและอิรัก นั้นเป็นนโยบายของอดีตประธานาธิบดี จอร์จ ดับเบิลยู. บุช สังกัดพรรคริพับลิกัน แต่ปัจจุบัน เก้าอี้ประธานาธิบดี ได้เป็นของ โอบามา สังกัดพรรคเดโมแครต ผู้ซึ่งมีนโยบายที่ชัดเจนว่าจะพาทหาสหรัฐฯ ที่อยู่ในอิรัก และอัฟกานิสถาน กลับบ้าน

            ประกอบกับเดือน ก.ค.54 นี้ สหรัฐฯ มีแผนที่จะถอนกำลังออกจาก อัฟกานิสถาน การเสียชีวิตครั้งนี้ของ บิน ลาเดน จึงเป็นเรื่องที่สามารถตอบคำถามการถอนกำลังกลับได้เป็นอย่างดียิ่ง เพราะสาเหตุของการส่งทหารออกเพื่อ 10 กว่าปีที่แล้ว ได้บรรลุผล เป็นการแสดงให้เห็นว่า สหรัฐฯ ไม่ได้กลับบ้านมือเปล่า สามารถซื้อใจประชาชนชาวอเมริกันไว้ได้

            ความจริงหากเข้าใจการเพิ่มกำลังทหารสหรัฐฯ ในปี 53 และการเพิ่มระดับการปฏิบัติการทางทหารที่ไล่ล่า ผู้นำตาลีบาน จวบจนกระทั่งเจอบิน ลาเดน และสังหารได้ในที่สุดนั้น เป็นเหตุการณ์ที่มีความต่อเนื่องและสมเหตุสมผล สหรัฐฯ สามารถสังหารผู้นำตาลีบานได้ถึง 900 คน นั่นก็หมายถึง การสลายขีดความสามารถของตาลีบาน ซึ่งเป็นกลุ่มที่คอยคุ้มครองให้กลุ่มอัลกออิดะห์ ทำให้ปรากฏการณ์เหล่านี้สะท้อนให้เห็นชัดเจนและสอดคล้องกับแผนการถอนทหารที่จะเกิดขึ้น ใน ก.ค.54 นี้

            ถึงแม้การเสียชีวิตของบิน ลาเดนนั้น หลายฝ่ายอาจจะมีข้อสงสัยว่าเขาเสียชีวิตจริงหรือไม่ เขาอาจจะยังไม่เสียชีวิต หรือเสียชีวิตไปนานแล้ว แต่นั่นก็ไม่สำคัญ เพราะไม่ว่าจะอย่างไรการเสียชีวิตของ บิน ลาดิน โดยการประกาศอย่างเป็นทางการในครั้งนี้ ได้กลายมาเป็นสัญญาลักษณ์ของการสิ้นสุดภารกิจที่ยาวนาน และเสียงบประมาณและชีวิตคนอเมริกัน ไปจำนวนมาก และกองทัพสหรัฐฯ ภายใต้การนำของ ประธานาธิบดี โอบามา ได้เป็นวีรบุรุษผู้ที่ได้แก้แค้นให้กับอเมริกันชน

            แต่ความจริงแล้วถึงแม้ สหรัฐฯ จะถอนกำลังออกจากอัฟกานิสถานแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าสหรัฐฯ จะทิ้งอัฟกานิสถานไปอย่างถาวร แต่ในทางกลับกัน สหรัฐฯ ได้ลงทุนสร้างสิ่งปลูกสร้างสำรับการเป็นฐานทัพถาวรในอัฟกานิสถาน สองถึงสามแห่ง ประกอบกับ ในปี 53 ที่ผ่านมาได้มีการประกาศจาก เพนตากอน ว่ามีการค้นพบสินแร่ที่มีมูลค่า กว่า 1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ จนมีการกล่าวกันว่า อัฟกานิสถาน จะกลายเป็น “Saudi Arabia of lithium” หรือ เป็นประเทศที่อุดมไปด้วยลิเทียม

            ไม่เพียงแต่มีแร่ธาตุที่อุดมสมบูรณ์แล้ว อัฟกานิสถานยังเป็นประเทศที่มีภูมิรัฐศาสตร์ดีในแง่ภูมิประเทศสูงข่ม เพราะเป็นประเทศที่มีชายแดนติดกับประเทศอิหร่าน ชายแดนติดประเทศปากีสถานที่มีชายแดนติดกับอินเดีย และประเทศทาจิกิสถานที่มีชายแดนติดกับจีน ซึ่งหากมองผ่านมิติภูมิรัฐศาสตร์แล้ว อัฟกานสถานเป็นประเทศที่มี ภูมิยุทธศาสตร์ดี ที่เชื่อมโยงกับ 3 ประเทศที่มีความเกี่ยวพันเชิงผลประโยชน์กับ สหรัฐฯ คือ อิหร่าน จีน และ อินเดีย

            ดังนั้นการปฏิบัติการทางทหารของสหรัฐฯ ที่เข้าสังหาร บิน ลาเดน จึงกลายมาเป็น จุดเริ่มที่ทหารสหรัฐฯ จะได้กลับบ้านเกิด ไม่ต้องมาเสี่ยงชีวิต ต่อจากนี้ไปจะทำการโอนความเสี่ยงให้กับ กองทัพอัฟกานิสถานให้สู้รบกับตาลีบานต่อไป ส่วนสหรัฐฯ ก็อาจจะคงกำลังไว้ในลักษณะของการเป็นที่ปรึกษาทางทหาร และ อาจจะได้ประโยชน์จากการเข้าไปมีสัมปทาน แร่ลิเทียม ในอัฟกานิสถาน และหลังจากทหารกลับบ้าน ทหารเหล่านั้นและพ่อแม่ญาติพี่น้องของทหารเหล่านั้น ก็จะพากันไปเลือกตั้งประธานาธิบดี ผู้ที่เป็นวีรบุรุษของชาวอเมริกันชน ที่สามารถแก้แค้นให้กับคนทั้งชาติ เรื่องเหล่านี้เป็นแค่นิทานที่ผมเล่า อย่าเชื่อเรื่องเล่าผมแต่ต้องรอดูกันต่อไป ...................เอวังครับ









ความรู้เรื่องเมืองสยาม ตอนขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสยามจากจดหมายเหตุ ลา ลูแบร์



A Mapp of the Kingdome of Siam

                เป็นจดหมายเหตุพงศาวดาร ราชอาณาจักรสยามในปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช พ.ศ.๒๒๓๐ ลา ลูแบร์ เป็นอัครราชทูตของพระเจ้าหลุยส์ที่ ๑๔ แห่งฝรั่งเศส ซึ่งเข้ามาทูลพระราชสาส์น ณ ประเทศสยาม ได้พรรณาถึงกรุงศรีอยุธยาไว้อย่างกว้างขวาง แม้ว่าเขาจะอยู่เพียง ๓ เดือน ๖ วัน จึงต้องอาศัยความรู้จากหนังสือที่ชาวตะวันตกซึ่งมากรุงสยามแต่ก่อนแต่งไว้อย่างคลาดเคลื่อนบ้าง สอบถามจากคนที่ไม่มีความรู้บ้าง ฟังจากคำบอกเล่าซึ่งจริงบ้างไม่จริงบ้าง บางเรื่องก็คาดเดาเอาเอง 

            หนังสือที่ ลา ลูแบร์ เขียนถึงเสนาบดีมีความว่า ตามที่ได้สั่งการให้เขาไปกรุงสยาม แล้วสังเกตุเรื่องราวนานาประการที่แปลก ๆ เกี่ยวกับประเทศนั้น บรรดาที่เขาได้พบเห็นมาให้ถูกต้องที่สุดเท่าที่จะทำได้

ความมุ่งหมายของจดหมายเหตุ


 เขาได้ออกเดินทางจากท่าเรือเมือง เบรสต์ เมื่อวันที่ ๑ มีนาคม ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๒๙) มาทอดสมอที่กรุงสยาม เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๑๙๘๗ (พ.ศ.๒๒๓๐) เดินทางกลับเมื่อวันที่ ๓ มกราคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๐) ขึ้นบกที่ท่าเรือเมืองเบสต์ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๑๖๘๘ (พ.ศ.๒๒๓๑) 
            ความมุ่งหมายในการเขียน เพ่งเล็งในด้านอาณาเขต ความอุดมสมบูรณ์ คุณภาพของดินในการกสิกรรม ภูมิอากาศเป็นประการแรก ต่อมาเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีโดยทั่ว ๆ ไป และเฉพาะเรื่องเฉพาะราย เรื่องเกี่ยวกับรัฐบาล และศาสนาจะกล่าวในตอนท้าย เขาได้รวบรวมบันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับประเทศนี้ ที่เขาได้นำติดตัวมาด้วยไปผนวกไว้ตอนท้าย และเพื่อให้ผู้อ่านได้รู้จักชาวสยามโดยแจ่มชัด จึงได้เอาความรู้เกี่ยวกับอินเดีย และจีนหลายประการมาประกอบด้วย เขาแถลงว่าจะต้องสืบเสาะให้รู้เรื่องราว พิจารณาสอบถาม ศึกษาให้ถึงแก่นเท่าที่จะทำได้ ก่อนเดินทางไปถึงประเทศสยาม ได้อ่านจดหมายเหตุทั้งเก่าและใหม่ บรรดาที่มีผู้เขียนขึ้นไว้เกี่ยวกับประเทศต่าง ๆ ในภาคพื้นตะวันออก ถ้าไม่มีสิ่งดังกล่าว เขาอาจใช้เวลาสักสามปี ก็คงไม่ได้ข้อสังเกตุ และรู้จักประเทศสยามดีเท่านี้  


ตอน ขนบธรรมเนียม ประเพณีของชาวสยาม

บทที่หนึ่ง เครื่องนุ่งห่ม และรูปร่างหน้าตาของชาวสยาม 

            ๑.  ชาวสยามนุ่งห่มผ้าน้อยชิ้น เพราะร้อนและเพราะความเป็นอยู่ง่าย ๆ  ชาวสยามไม่ค่อยหุ้มห่อร่างกายมิดชิดนัก 
            ๒.  ผ้านุ่ง เครื่องนุ่งห่มของชาวสยาม  ชาวสยามไม่ใส่รองเท้า ไม่สวมหมวก พันเอวและขาอ่อน ถึงใต้หัวเข่าด้วยผ้ามีดอกดวง ยาวประมาณ ๒ โอน (๑.๑๘ เมตร) ครึ่ง บางครั้งก็ใช้ชิ้นผ้าไหมเกลี้ยง ๆ หรือทอที่ริมเป็นลายทองลายเงิน

A Siamese Mandarin การเเต่งกายของขุนนางสยามสมัยนั้น



            ๓. ใช้เสื้อคลุมผ้ามัสลินเป็นเสื้อชั้นนอก  พวกขุนนางนอกจากนุ่งผ้าแล้วยังสวมเสื้อครุยมัสลินคลุม (ถึงเข่า) เขาจะเปลื้องมันออกแล้วม้วนพันไว้กับบั้นเอว เมื่อเข้าไปหาขุนนางผู้ใหญ่ที่มียศศักดิ์สูงกว่าตน นอกนั้นบรรดาขุนนางที่เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสยามคงนุ่งห่มเสื้อผ้าเต็มยศตามธรรมเนียมขุนนางสยาม มีงานพระราชพิธีต้องสวมหมวกลอมพอกสูงมียอดแหลม 
            ๔. ผ้าคลุมกันหนาว  ในฤดูหนาวชาวสยามใช้ผ้าตามความกว้างหรือผ้าลินินมีดอกดวงคลุมไหล่ โดยพันชายผ้าไว้กับลำแขน 
            ๕. พระเจ้ากรุงสยามฉลองพระองค์อย่างไร  ทรงใช้ฉลองพระองค์ด้วยผ้าเยียรขับอย่างงาม แขนฉลองพระองค์แดงมากปรกมาถึงข้อพระหัตถ์ ทำนองเดียวกับเสื้อที่เราใช้ได้เสื้อคลุม ทรงฉลองพระองค์นั้นไว้ภายใต้ฉลองพระองค์ครุย มีการปักอย่างวิจิตรต่างแบบลวดลายกันกับในยุโรป ชาวสยามคนใดจะใช้เสื้อเปิดนี้ไม่ได้ นอกจากพระองค์จะพระราชทานให้ ซึ่งจะพระราชทานให้เฉพาะขุนนางที่มีบรรดาศักดิ์สูงเท่านั้น 
            ๖. เสื้อยศทหาร พระเจ้าอยู่หัวก็พระราชทานเสื้อชั้นนอกสีแดงสด  สำหรับออกงานสงครามหรือตามเสด็จ ฯ ล่าสัตว์ เสื้อชนิดนี้ยาวถึงหัวเข่า มีดุมขัดด้านหน้า ๘ - ๑๐ เม็ด แขนเสื้อกว้าง ไม่มีปักลวดลาย และสั้นมากจนปรกไปถึงข้อศอก 
            ๗. สีแดงสำหรับออกศึกและประพาสป่า  เป็นธรรมเนียมทั่วไปในกรุงสยาม ที่พระเจ้าอยู่หัวและผู้ที่อยู่ในขบวนโดยเสด็จออกงานดังกล่าว จะต้องแต่งกายด้วยเสื้อผ้าชุดสีแดง ตัดเย็บด้วยผ้ามัสลินย้อมแดง 
            ๘. ลอมพอกยอดสูงและปลายแหลม  เป็นศิราภรณ์สำหรับใช้ในงานพระราชพิธี พระเจ้าอยู่หัวและขุนนางแต่งเหมือนกัน ต่างแต่ว่าพระลอมพอกประดับขอบ หรือเสวียนเกล้าด้วยพระมหามงกุฎเพชรรัตน์ ส่วนลอมพอกขุนนางประดับเสียนทองคำ เงิน หรือกาไหล่ทองมากน้อยตามยศ บางคนไม่มีเสวียนเลย เมื่อใส่ลอมพอก การแสดงความเคารพไม่ได้ถอดออก 
            ๙. รองเท้าแตะ พวกแขกมัวร์เป็นผู้นำรองเท้าแตะ  อันเป็นรองเท้าปลายแหลมมาใช้ ไม่มีปีกหุ้มเท้า ไม่มีส้น เขาถอดวางไว้ที่ประตู เมื่อเจะเข้าไปในเรือน ไม่ว่าพระเจ้าอยู่หัวจะประทับอยู่ ณ ที่ใดหรือบุคคลที่เขาจะต้องให้ความเคารพอยู่ ณ ที่ใด ชาวสยามจะไม่สวมรองเท้าเข้าไป ณ ที่นั้นเป็นอันขาด 
            ๑๐. ความสะอาดของพระราชวัง  ไม่มีที่ใดจะสะอาดเท่าพระบรมมหาราชวัง 
            ๑๑. หมวกสำหรับสรวมไปเที่ยว  พวกขุนนางนิยมมีกัน พระเจ้าอยู่หัวตรัสให้สร้างพระมาลาเป็นสีต่าง ๆ รูปทรงคล้าย ๆ กับพระลอมพอก แต่ราษฎรสามัญจะใช้ผ้าโพกศีรษะเฉพาะเมื่อลงเรืออยู่ในแม่น้ำเท่านั้น 
            ๑๒. เครื่องนุ่งห่มของสตรี  พวกผู้หญิงนุ่งห่มตามความยาวของผืน วงรอบตัวเช่นเดียวกับผู้ชาย แต่ผู้หญิงปล่อยชายทางด้านกว้าง เลียนแบบกระโปรงอย่างแคบ ๆ ให้ชายตกลงมาครึ่งแข้ง ส่วนผู้ชายชักชายผ้าข้างหนึ่งซึ่งเขาปล่อยให้ยาวกว่าอีกข้างหนึ่ง ลอดหว่างขาแล้วไปเหน็บไว้ด้านหลัง โดยคาดเข็มขัดทับ คล้ายสับเพลาโบราณของเรา ส่วนชายอีกข้างหนึ่งห้อยอยู่หน้าขา (ชายพก) ใช้ชายพกห่อล่วมหมาก บางทีก็นุ่งผ้าสองผืนซ้อนทับกัน เพื่อให้ผืนบนดูเรียบร้อย 
            ๑๓. เกือบจะเปลือยหมด  นอกจากผ้านุ่งแล้ว ผู้หญิงก็ปล่อยตัวล่อนจ้อน มิได้สวมเสื้อชั้นในมัสลิม เพียงแต่คนมั่งมีจะใช้สไบห่ม ปัดชายสไบเฉียงไปคลุมต้นแขน แต่ลักษณะที่สุภาพคือใช้ตอนกลางของผืนคาดขนอง แล้วสอดรักแร้ปกถันเข้าไว้ แล้วตลบชายสไบทั้งสองด้านสพักไพล่ไปทั้งชายอยู่าทางเบื้องหลัง (ห่มตาเบงมาน)


A Siamese Woman with her Child. การเเต่งกายของหญิงไทยเเละลูกของเธอ
             ๑๔. ความละอายในการเปลือย  ชายหญิงสยามมีความตะขิดตะขวงใจเป็นอย่างยิ่งในโลก ที่จะเผยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย ซึ่งธรรมเนียมกำหนดให้ปิดบังไว้ ออกให้ใครเห็น เราต้องจ่ายผ้าขาวม้าให้ทหารฝรั่งเศสนุ่ง เมื่อลงอาบน้ำตามท่า เพื่อระงับข้อครหาของชาวเมือง ที่เห็นทหารฝรั่งเศสเปลือยกายลงอาบน้ำในแม่น้ำ 
            ๑๕. ความละอายในการลงโทษ  เด็ก ๆ  จะไม่นุ่งผ้าจนอายุได้ ๔ - ๕ ขวบ และเมื่อเด็กนุ่งผ้าแล้วผู้ใหญ่จะไม่เลิกผ้าขึ้นเพื่อลงโทษเลย และคนในภาคบูรพาทิศถือกันว่า เป็นการน่าบัดสีอย่างยิ่ง ถ้าใครถูกโบยส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกายอันเปลือยเปล่า 
            ๑๖. เหตุใดจึงใช้ไม้เรียว  เพราะแส้หรือกิ่งไม้ไม่ทำให้รู้สึกเจ็บ เพียงพอที่จะแทรกเนื้อผ้าเข้าไปใด้ 
            ๑๗. ความละอายเวลานอนและอาบน้ำ  ชาวสยามไม่เปลือยกายเมื่อเข้านอน ทำนองเดียวกันกับที่เขาผลัดผ้าเมื่อลงอาบน้ำในแม่น้ำ ไม่มีที่ไหนในโลกที่จะว่ายน้ำกันเก่งเท่าที่นี่ ทั้งหญิงและชาย 
            ๑๘. องค์พยานความละอายอย่างอื่น ๆ  ความละอาย (ต่อความสกปรก) ของชาวสยามก่อให้เกิดธรรมเนียมขัดสีฉวีวรรณกันอย่างถึงขนาด เขาเห็นว่าการเปลือยกายเป็นสิ่งที่น่าบัดสี เพลงขับที่มีเนื้องร้องเป็นคำลามกอนาจาร เป็นสิ่งต้องห้ามตามกฎหมายสยามเหมือนกับกฎหมายในประเทศจีน 
            ๑๙. ผ้านุ่งชนิดใดที่อนุญาตให้ใช้ได้  ผ้านุ่งที่มีความงดงามบางชนิดเช่น ผ้าม่วงไหมยกดอกหรือผ้าม่วงไหมอย่างไม่ยกดอก และเช่นผ้าลายเนื้อดี อนุญาตให้นุ่งได้เฉพาะบุคคลที่ได้รับพระราชทานจากพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ส่วนพวกผู้หญิงชั้นสามัญนิยมนุ่งผ้าถุงสีดำ และสไบนั้นมักเป็นผ้ามัสลินสีขาวอย่างธรรมดา 
            ๒๐. แหวน กำไล ข้อมือ ตุ้มหู  ชาวสยามสวมแหวนที่นิ้วท้าย ๆ ของทั้งสองมือ พวกผู้ชายไม่รู้จักใช้สร้อยคอ พวกผู้หญิงและเด็กทั้งชายหญิงรู้จักการใช้ตุ้มหู ซึ่งมีรูปร่างเหมือนลูกบัว ทำด้วยทองคำ เงิน หรือกาไหล่ทอง เด็กหนุ่มสาวลูกผู้ดีสวมกำไลข้อมือ แต่จะสวมถึงอายุ ๖ - ๗ ขวบเท่านั้น และยังสวมกำไลที่แขน และขาอีกด้วย เป็นกำไลทำด้วยทองคำหรือกาไหล่ทอง 
            ๒๑. การเปลือยกายของเขาไม่เป็นที่แปลกตา  เพราะมีผิวพรรณไม่ขาวเหมือนชาวยุโรป 
            ๒๒. รูปร่างของชาวสยาม  มีรูปร่างย่อมได้สัดส่วนดี ปทุมถันของหญิงมิได้เต่งตั้งอยู่ได้เมื่อพ้นวัยสาวรุ่นไปแล้ว และยานย้อยลงมาถึงท้องน้อยในเวลาไม่นาน แต่รูปทรงร่างกายยังกะทัดรัดอยู่ 
            ๒๓. หน้าตาชาวสยาม  ค่อนข้างเป็นรูปขนมเปียกปูนมากกว่ารูปไข่ ใบหน้ากว้าง ผายขึ้นไปทางเหนือโหนกแก้ม ไปถึงหน้าผากอันแคบ รวมเข้าเป็นรูปมนเหมือนปลายคาง หางตาค่อนข้างสูง ตาเล็ก ไม่สู้แจ่มใสนัก ตาขาว ออกสีเหลือง ๆ แก้มตอบ ปากกว้าง ริมฝีปากหนาชัด ฟันดำ ผิวหยาบ สีน้ำตาลปนแดง 
            ๒๔. สีน้ำเงินที่สักไว้ตามร่างกาย  ผู้หญิงสยามไม่ใช้ชาดทาปาก แก้มหรือแต้มไฝ ขุนนางสักที่ขาเป็นสีน้ำเงินหม่นเป็นเครื่องกำหนดความยิ่งศักดิ์ จะมีสีน้ำเงินมาก หรือน้อยสุดแต่บรรดาศักดิ์สูงต่ำ พระเจ้าอยู่หัวทรงสักสีน้ำเงิน ตั้งแต่ฝ่าพระบาทไปถึงพระนภี แต่บางคนก็บอกว่ากาสักทำไปเพราะเชื่อโชคลางของขลัง 
            ๒๕. จมูกและหูของชาวสยาม  ชาวสยามมีจมูกสั้นและปลายมน ใบหูใหญ่กว่าชาวยุโรป คนมีใบหูใหญ่มากเท่าใด ก็ยิ่งเป็นที่ยกย่องกันมากเท่านั้น เป็นความนิยมของชาวตะวันออก 
            ๒๖. ผมของชาวสยาม   มีสีดำ เส้นหยาบและเหยียด ทั้งชายหญิงไว้ผมสั้นมาก ยาวมาเสมอใบหูเท่านั้น  ต่ำกว่านั้นจะตัดเกือบเกรียนติดหนังศีรษะ พวกผู้หญิงหัวผมตั้งไว้บนหน้าผากโดยมิได้รวบเกล้ากระหมวด บางคนส่วนมากเป็นชาวรามัญ ปล่อยให้ผมยาวไปข้างหลังพอประมาณ เพื่อขมวดเป็นมวยไว้ที่ท้ายทอย ชายหนุ่มและหญิงสาวที่อยู่ในวัยมีเรือนได้แล้วก็ไว้ผม  แปลกไปอีกทำนองหนึ่งคือ ใช้กรรไกรหนีบตัดผมกลางกระหม่อมเสียสั้นเกรียน รอบเรือนผมเขาถอนออกมาเป็นกระจุกเล็ก ๆ กระจุกหนึ่ง ทางด้านล่างปล่อยให้ออกยาวไปเกือบประบ่า 
            ๒๗.รสนิยมของชาวสยามที่มีต่อหญิงผิวขาว  ภาพวาดสตีรีงามบางคนแห่งราชสำนัก (ฝรั่งเศส) ไม่เป็นที่สบอารมณ์ของชาวสยามมาก พระเจ้ากรุงสยามได้ทรงมีหญิงสาวชาวมิลเกรเลียน หรือชอร์เชียน โดยรับสั่งให้ซื้อมาจากประเทศเปอร์เชีย (มาเป็นบาทบริจาริกา) และชาวสยามที่มาฝรั่งเศสสารภาพว่า ผู้หญิงฝรั่งเศสนั้นสวยมาก ไม่มีหญิงชาวสยามคนใดทัดเทียมได้ 
            ๒๘. ชาวสยามเป็นคนสะอาดสะอ้านมาก  ชาวสยามนุ่งห่มน้อย  และอบรำร่างกายด้วยสุคนธรส ริมฝีปากก็สีขี้ผึ้งหอม อาบน้ำวันละ ๓ - ๔ ครั้ง  ถือเป็นความสุภาพเรียบร้อยว่า จะไปเยี่ยมผู้ใดในรายที่สำคัญ ต้องอาบน้ำเสียก่อน และจะประแป้งให้ขาวพร้อมที่ยอดอก แสดงว่าได้อาบน้ำมาแล้ว 
            ๒๙. วิธีอาบน้ำสองอย่าง  วิธีหนึ่งลงไปแช่น้ำ อีกวิธีหนึ่งใช้ขันตักน้ำรดร่างกาย 
            ๓๐. การรักษาความสะอาดฟันและผม  ชาวสยามเอาใจใส่รักษาฟันมาก  แม้จะย้อมดำแล้วก็ตาม เขาสระผมด้วยน้ำ และใส่น้ำมันจันทน์ ทำนองเดียวกับชาวเสปน แล้วไม่ผัดแป้งเลย  ชาวสยามหวีผม หวีมาจากประเทศจีน ชาวสยามถอนเคราซึ่งมีอยู่หร็อมแหร็ม  แต่ไม่ทำเล็บเลย เพียงแต่รักษาให้สะอาด 
            ๓๑. ชาวสยามชอบไว้เล็บยาว  เราได้เห็นนางละครชาวสยามที่จะให้งามเกินงาม สวมเล็บที่ทำด้วยทองเหลืองยาวมาก 

บทที่สอง  บ้านเรือนของชาวสยาม และฝีมือการก่อสร้าง

            ๑. ชาวสยามมีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ  ชาวสยามแต่งตัวอย่างเรียบ ๆ ง่าย ๆ  บ้านเรือนเครื่องเรือนและอาหารการกินก็เรียบ ๆ ง่าย ๆ  ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากัน  กล่าวคือ เหมือนเศรษฐีที่อยู่ในห้วงแห่งความอนาถา เสมอเหมือนกันไปหมดทุกคน เพราะพวกเขาเป็นคนสันโดษมักน้อย ที่อยู่อาศัยของชาวสยามเป็นเรือนหลังย่อม ๆ  มีอาณาบริเวณกว้างขวางพอใช้ พื้นเรือนใช้ไม้ไผ่มาสับเป็นฟาก และเรียงไว้ไม่ค่อยถี่นัก และยังจักตอกขัดแตะเป็นฝา และใช้เครื่องบนหลังคา เสาตอม่อที่ยกพื้นขึ้นสูงให้พ้นน้ำท่วม ก็ใช้ไม้ไผ่ลำใหญ่กว่าขา และสูงจากพื้นดินประมาณ ๑๓ ฟุต  เพราะบางครั้งน้ำท่วมสูงถึงเท่านั้น ตอม่อ แถวหนึ่งมีไม่มากกว่า ๔ - ๖ ต้น แล้วเอาลำไม้ไผ่ผูกขวางเป็นรอด บันได ก็เป็นกระได ไม้ไผ่ซึ่งทอดอยู่ข้างนอกตัวเรือน เหมือนกระไดโรงสีลม คอกสัตว์สยามก็อยู่กลางแจ้งและยกพื้นเหมือนกัน มีตะพานทำด้วยไม้ไผ่ฟากสำหรับสัตว์ปีนขึ้น
            ๒. เรือนสร้างแล้วเสร็จได้รวดเร็ว  การที่เรือนแต่ละหลังออกไปตั้งอยู่โดดหลังเดียวห่าง ๆ กัน อาจต้องการให้เป็นที่รโหฐาน ชาวสยามตั้งเตาหุงต้มกันกลางลานบ้าน ขณะที่เขาอยู่ในพระนคร มีเรือนถูกไฟไหม้ถึง ๓๐๐ หลังคาเรือน แต่กลับปลูกใหม่เสร็จภาายในสองวัน
            ๓. ไม่มีเรือนพักรับแขกเมือง   ที่เขาจัดให้พวกเราพักที่ชายน้ำ ชาวสยามได้จัดสร้างขึ้นโดยเฉพาะ ด้วยไม่มีเรือนหลังใดพอให้เข้าพักได้  เหมือนประเทศอื่น ๆ ในทวีปเอเซีย ระหว่างทางจากกรุงศรีอยุธยา ไปถึงเมืองละโว้ เห็นมีศาลาที่พักคนเดินทางเป็นโรงโถงขนาดใหญ่อย่างธรรมดา มีกำแพงล้อมรอบสูงพอเอื้อมถึง มีหลังคาคลุม หลังคาตั้งอยู่บนเสาไม้แก่น ซึ่งผังเรียงรายเป็นระยะลงในกำแพงนั้น บางทีพระเจ้ากรุงสยามก็ประทับเสวยพระกระยาหารที่นั่นในระหว่างเสด็จ ฯ แต่ส่วนเอกชนสามัญก็ใช้เรือที่ไปเป็นที่พักแรมไปในตัว
            ๔. เหตุใดการต้อนรับอาคันตุกะให้พักอาศัยอยู่ด้วย จึงไม่เป็นที่รู้จักกันในหมู่ชาวอาเซีย  พระภิกษุไม่มีภรรยา ท่านจึงแสดงความกรุณาให้ที่พักอาศัย แก่อาคันตุกะดีกว่าพวกพลเมือง ที่สยาม (อยุธยา)  มีชาวฝรั่งเศสคนหนึ่งเริ่มตั้งโรงเตี๊ยมขึ้น บางทีก็มีชาวยุโรปไม่กี่คนไปพักบ้าง
            ๕. เรือนที่สร้างขึ้นเฉพาะสำหรับรับรองคณะฑุตานุฑูตฝรั่งเศส  เจ้าพนักงานจึงสร้างเรือนแบบพื้นประเทศให้ สร้างบนเสาปูฟาก และลาดด้วยเสื่อกก รวมทั้งพื้นเฉลียงอีกด้วย ห้องโถงและห้องในนั้น แขวนผ้ามีดอกดวง เพดานผ้ามัสลินขาว ริมเฉลียงเพดานลาดลง พื้นเรือนในห้องนั้นลาดเสื่อกกสานลายละเอียด และเป็นมันลื่นกว่าที่ใช้พื้นเฉลียง และภายในห้องนอนของเอกอัครราชฑูตพิเศษนั้น  ยังลาดพรมเจียมทับเสื่อกกอีกชั้นหนึ่ง  มีความสะอาดอยู่ทั่วไป แต่มิได้โอ่โถงมีภูมิฐานอะไรที่บางกอก สยาม และละโว้ ซึ่งชาวยุโรป ชาวจีน และชาวมัวร์ สร้างบ้านเรือนเป็นตึกก่ออิฐถือปูน  เจ้าพนักงานได้จัดให้เข้าพักในตึกเช่นเดียวกัน  มิใช่เรือนสร้างขึ้นเฉพาะสำหรับพวกเรา
            ๖. ตึกสำหรับเอกอัคราชฑูตฝรั่งเศสและปอร์ตุเกศพักยังสร้างไม่เสร็จ  เรายังได้เห็นตึกสองหลัง ซึ่งเจ้ากรุงสยามโปรดให้สร้างขึ้นหลังหนึ่ง สำหรับเอกอัคราชฑูตฝรั่งเศสอีกหลังหนึ่ง  อีกหลังหนึ่งสำหรับเอกอัคราชฑูตปอร์ตุเกศ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ
            ๗. เรือนขุนนางผู้ใหญ่ในกรุงสยาม  ขุนนางผู้ใหญ่แห่งราชสำนักอยู่เรือนไม้ทั้งหลัง รูปร่างดังตู้ใบใหญ่ เป็นที่อยู่อาศัยเฉพาะเจ้าบ้าน ภรรยาหลวงกับบุตรธิดาของตน ส่วนภรรยาน้อยคนอื่น ๆ กับบุตรธิดาของตน ทาสแต่ละคนกับครอบครัว มีเรือนหลังเล็ก ๆ  แยกกันอยู่ต่างหากจากกัน  แต่อยู่ในวงล้อมรั้วไม้ไผ่ร่วมกับเจ้าของบ้าน








ลักษณะบ้านเรือนของชาวสยาม


            ๘. เรือนชาวสยามมีเพียงชั้นเดียว   วิธีสร้างเรือน น่าอยู่กว่าตามแบบของเรามาก ไม่ต้องกังวลในเรื่องพื้นที่ สร้างขึ้นจากวัสดุที่ไม่ค่อยแข็งแรงนัก  ไปตัดไม้จากป่าตามชอบใจ หรือไม่ก็หาซื้อมาด้วยราคาถูก ๆ จากผู้ที่ไปตัดชักมา กล่าวกันว่าเรือนของชาวสยามที่มีเพียงชั้นเดียว ก็เพื่อมิให้ผู้ใดอยู่สูงกว่าพระเจ้ากรุงสยาม ในขณะที่พระองค์ทรงช้างเสด็จ ฯ ไปในท้องถนน  ไม่ว่าพระองค์เสด็จ ฯ ทางชลมารคหรือสถลมารค  พวกราษฎรจะต้องปิดหน้าต่างเรือนแล้วลงมาสู่ถนน หรือลงมาสู่เรือของตนเพื่อถวายบังคม  ข้อที่ราษฎรระวังกันนักคือ เรือนของตนจะต้องไม่ใหญ่โตงดงามเทียบเท่าพระราชมณเฑียร  อนึ่งปราสาทราชมณเฑียรก็มีเพียงชั้นเดียวทั้งสิ้น
            ๙. ตึกสำหรับชาวต่างประเทศ   ชาวยุโรป ชาวจีน และชาวมัวร์ ต่างสร้างบ้านเรือนของตนเป็นตึก ตามแบบนิยมและศิลปของชาติตน

พระมหามณเฑียร ของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราช

            ๑๐. หอที่เรียกว่าดีวัง  ผนังสามด้าน ด้านที่สี่เปิดโล่งไว้ ด้านนี้มีพะไลยื่นออกไปบัวสูงเท่าตัวหลังคา ภายในหอมักจะประดับตั้งแต่ข้างบน จนถึงข้างล่างด้วยกุฎิเล็ก ๆ ที่แขวนอยู่หรือเจาะเป็นช่องเข้าไปในผนัง เพื่อตั้งถ้วย โถ ขาม และแจกะนกระเบื้อง
            ๑๑. พระที่นั่งและพระวิหารก่ออิฐแต่เตี้ย ๆ  พระราชมณเฑียรในพระบรมมหาราชวังที่สยาม (อยุธยา) กับที่ละโว้กับโบสถ์ หรือวิหารหลายแห่งก็สร้างด้วยอิฐเหมือนกัน  โบสถ์วิหารมีลักษณะคล้ายกับหอพระของเรา คือ ไม่มีโค้งหลังคา ไม่มีเพดาน มีแต่เสาไม้แก่น ค้ำเครื่องบนมุงกระเบื้อง ล่องชาด และวาดลายทองเล็กน้อย
            ๑๒. ตึกในสยามยังเป็นของริเริ่มใหม่   อาคารก่ออิฐถือปูนยังเป็นของริเริ่มใหม่ของสยามอยู่มาก ชาวยุโรปเป็นผู้นำเอาแบบอย่างการสร้างตึกเข้ามาใช้
            ๑๓. ชาวสยามยังไม่รู้จักองค์การก่อสร้าง ๕ ประการ  ชาวสยามไม่รู้จักการประดับภายนอกราชมณเฑียร หรือโบสถ์วิหารเลย นอกจากเครื่องหลังคาซึ่งมุงด้วยแผ่นดีบุกอย่างธรรมดา เรียกว่า กะลิน  หรือกระเบื้อง  เคลือบสีเหลือง เหมือนอย่างหลังคาพระราชมณเฑียนพระเจ้ากรุงจีน  ส่วนที่เกี่ยวกับองค์ ๕ ของสถาปัตยกรรมอันประกอบด้วยเสา ลวดลายประดับคานบนยอดเสา และการประดิดประดอยอื่น ๆ นั้น ชาวสยามไม่มีความรู้เรื่องนี้เลย
            ๑๔. บันไดและประตู  เป็นบันไดอย่างธรรมดา มี ๑๐ - ๑๒ ขั้น  ความกว้างไม่ถึง ๒ ฟุต  ก่อด้วยอิฐถือปูนติดผนังเบื้องขวา เบื้องซ้ายก็ไม่มีรางกั้น  แต่ขุนนางสยามไม่จำเป็นต้องใช้ราวบันไดแต่อย่างใด  เพราะเขาคลานขึ้นไปด้วยมือและเข่า และคลานอย่างเงียบกริบ  ทวารท้องพระโรงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสแต่ต่ำและแคบ
            ๑๕. การวางศักดิ์ในพระราชมณเฑียรนั้นคืออย่างไร  แม้พื้นเรือนจะมีอยู่เพียงชั้นเดียว แต่พื้นเรือนมิได้อยู่ในระดับเดียวกันหมดทั้งหลัง มีการลดหลั่นกันไปโดยลำดับ  จึงมีบันไดสำหรับก้าวจากห้องหนึ่งไปสู่อีกห้องหนึ่ง ด้วยพื้นห้องและชานของแต่ละห้องนั้น ยกอยู่ในระดับเดียวกันทั้งสิ้น  เป็นเหตุให้หลังคาของแต่ละห้องสูงต่ำไม่เท่ากัน  หลังคาเป็นรูปหลังลาทั้งสิ้น  แต่ตอนหนึ่งนั้นต่ำกว่าอีกตอนหนึ่ง ลดหลั้นตามระดับพื้นห้องที่ต่ำกว่ากัน  หลังคาค่อนที่ต่ำกว่านั้นดูคล้ายแลบออกมา จากหลังคาตอนชั้นสูง และหลังคาชั้นสูงนั้นครอบทับชายหลังคาชั้นต่ำกว่าไว้ เหมือนอานม้า ซึ่งหัวอานที่งอนขึ้นมาซ้อนท้ายอานอีกอันหนึ่งไว้
            ๑๖. ที่เมืองจีนก็เช่นกัน

วัดในสมัยนั้น


            ๑๗. โบสถ์วิหารก็เช่นเดียวกัน  ส่วนโบสถ์นั้น ได้สังเกตเท่าที่เห็นแต่เฉพาะพะไล ที่ยื่นออกมาเป็นมุขด้านหน้า และอีกอันหนึ่งทางด้านหลังเท่านั้น  ตอนใต้เป็นที่ประดิษบานพระพุทธรูป ส่วนหลังคามุขหน้า และมุขหลังนั้น ดูเหมือนจะมีไว้ให้ประชาชนเข้าไปนั่งเท่านั้น
            ๑๘. เจดีย์  เครื่องประดับสำคัญของอุโบสถ ต้องมีเป็นธรรมดาทุกวัดคือ เจดีย์ปูนขาว หรือก่อด้วยอิฐมากมายหลายองค์ สร้างด้วยฝีมือประดิดประดอยอย่างหยาบ ๆ เจดีย์ทั้งหลายนั้นทรงกลมและยิ่งสูงขึ้นไปก็ยิ่งลดเรียวลง  ตอนปลายคล้ายโดม เมื่อเป็นเจดีย์ทรงต่ำ ตอนปลายที่ทำเป็นโดมนั้น มีก้านดีบุกเล็ก ๆ ปลายแหลมปักอยู่  และสูงมากพอใช้เมื่อเทียบส่วนกับเจดีย์ทั้งองค์  เจดีย์บางองค์มีลักษณะคอดเข้า แล้วเลื่อมออกขึ้นไปตามส่วนสูงถึง ๔ - ๕ ชั้น  ดูเป็นลูกคลื่น  โดยรอบทรงกลมนี้ประดับลวดลายแวง ตั้งเป็นมุมฉากอยู่ ๓ - ๔ แห่ง  ทั้งที่ตามรอยคอดและส่วนที่สูงขึ้นไป ลายนี้ค่อยเรียวลงตามส่วนเรียวขององค์เจดีย์ ไปสิ้นสุดลงที่ยอด ตอนเริ่มเม็ดทรงมันอันมีลายประดับอีก
            ๑๙. ลักษณะห้องบางห้องในพระราชมณเฑียร  ได้เห็นแต่เพียงหัองชั้นนอก ห้องแรกอันเป็นท้องพระโรงที่สยาม (กรุงศรีอยุธยา) กับที่เมืองละโว้ เท่านั้น กล่าวกันว่าไม่มีใครจะล่วงล้ำเกินกว่านั้นไปได้ แม้พวกมหาดเล็ก ยกเว้นพระสนมนางใน และะพวกขันทีเท่านั้น ได้เห็นห้องประชุมองคมนตรีในพระราชวังที่เมืองละโว้ แต่ก็เป็นห้องนอกแรกเข้าไปถึง ในอาคารหลังนี้ยังมีห้องชั้นใน ๆ เข้าไปอีก หมายความว่า ไม่มีห้องพักคอย (Anti chambre) ที่ด้านหน้าและด้านข้างทั้งสองข้าง ห้องประชุมมีชานเฉลียงแลออกไปเห็นอุทยานล้อมอยู่โดยรอบ บนชานเฉลียงนี้เป็นกลางแจ้ง เจ้าพนักงานได้จัดขึงผ้ากันแดดทางด้านเหนือ  เพื่อให้เป็นที่คณะเอกอัครราชฑูตฝรั่งเศสเข้าเฝ้าเป็นส่วนพระองค์ พระเจ้ากรุงสยามเสด็จประทับพระราชอาสน์ ณ สีหบัญชร ช่องหนึ่งในห้องประชุมนั้น ในท่ามพระราชอุทยานและลานสนามนั้น มีทิมโถงหลายห้องเรียกว่า ศาลา ตั้งอยู่ห่าง ๆ กัน ล้อมรอบด้วยกำแพงสูงมีหลังคาปก มีแต่เสาลอยรับเป็นระยะ ๆ  ในกำแพงนั้น ศาลาเหล่านี้ทำขึ้นสำหรับขุนนางผู้ใหญ่ ในตำแหน่งสำคัญ ๆ เข้าไปนั่งขัดสมาธิเพื่อปฎิบัติหน้าที่ราชการของตน หรือประชุมหารือกัน มาคอยรับพระบรมราชโองการในตอนสาย ๆ ระยะหนึ่ง และตอนเย็นจนค่ำอีกระยะหนึ่ง และจะลุกกลับออกไปไม่ได้ จนกว่าจะได้อาณัติให้กลับไปได้แล้ว ขุนนางชั้นผู้น้อยนั่งอยู่ที่สนามหญ้า หรือในอุทยาน และเมื่อได้อาณัติสัญญาณว่า พระเจ้าอยู่หัวทอดพระเนตรมาเห็นตัวแล้ว ก็จะหมอบลงทันที
            ๒๐. สถานที่ในพระบรมมหาราชวังที่เราได้รับพระราชทานเลี้ยง   เป็นสถานที่อันน่ารื่นรมย์อย่างยิ่ง ภายใต้ต้นไม้ใหญ่ และใกล้ขอบสระ ในพระราชวังที่เมืองละโว้ พวกเราได้รับพระราชทานเลี้ยงในพระราชอุทยาน ภายในห้องโถงแห่งหนึ่ง ซึ่งผนังสูงขึ้นไปจนจรดหลังคา และรองรับตัวหลังคาไว้ ผนังโบกปูนสีขาว เรียบเป็นมันวับ มีประตูด้านสะกัดด้านละช่อง มีคูกว้าง ๒ - ๓ ตัวซ์  ลึกประมาณ ๑ ตัวซ์  ล้อมรอบ ภายในคูมีน้ำพุสายเล็ก ๆ เรียงรายประมาณ ๒๐ แห่ง สายน้ำพุพุ่งขึ้นมาเหมือนจากฝักบัวรดน้ำ น้ำพุ่งขึ้นมาเสมอระดับขอบคู
            ๒๑. พระราชอุทยานที่เมืองละโว้  ไม่สู้กว้างขวางเท่าไร  แปลงปลูกต้นไม้ต่าง ๆ มีน้อย ก่อด้วยอิฐตั้งซ้อนกันขึ้นไปเป็นขอบคัน ช่องทางเดินระหว่างแปลงต้นไม้นั้น แปลงต้นไม้นั้นปลูกพันธุ์ไม้ดอกไว้ กับต้นไม้จำพวกปาลม์ และพรรณอื่น ๆ
            ๒๒. พลับพลาไม้ไผ่ในป่า  ทำขึ้นอย่างง่าย ๆ เรียบ ๆ

บทที่สาม  เครื่องเรือนของชาวสยาม 

            ๑. เครื่องเรือนชิ้นใหญ่ ๆ ของชาวสยาม   เตียงนอนเป็นแคร่ไม้แคบ ๆ  และลาดเสื่อไม่มีพนักหัวเตียง และเสาเตียง  บางทีก็มีหกขา แต่ไม่มีเดือยติดกับแม่แคร่ บางทีก็ไม่มีขาเลย แต่คนส่วนใหญ่มิได้ใช้แคร่นอน คงใช้เพียงเสื่อกกผืนเดียว โต๊ะอาหารเป็นโตก หรือถาดยกขอบ แต่ไม่มีขา ที่กินอาหารไม่มีผ้าปูรอง ไมมีผ้าเช็ดปาก ไม่มีช้อน ไม่มีส้อม ไม่มีมีด กับข้าวจะหั่นมาเป็นชิ้น ๆ ไม่ใช้เก้าอี้ แต่จะนั่งบนเสื่อกก ไม่มีพรมรองนั่ง จะมีแต่ของพระราชทานเท่านั้น  ผู้ที่มีสันถัตรองนั่งถือว่า มีเกียรติยศมาก คนมั่งมีมีหมอนอิง สิ่งที่ทางบ้านเมืองเราทำด้วยผ้าหรือไหม หรือแพรไหม ในประเทศนี้ทำด้วยผ้าฝ้ายสีขาว หรือมีดอกดวงเป็นพื้น
            ๒. ภาชนะของชาวสยาม  ถ้วยชามเป็นเครื่องกระเบื้องก็มี เครื่องดินเผาก็มี กับขันทองแดง บางชิ้นภาชนะทำด้วยไม้อย่างเกลี้ยง ๆ หรือขัดมันกะลามะพร้าว และกระบอกไม้ไผ่ ก็เป็นภาชนะสำหรับใช้กระจุกกระจิกได้หมด มีภาชนะของใช้ที่ทำด้วยทองคำ และเงินอยู่บ้างแต่ก็มีน้อย เกือบจะมีแต่เครื่องยศที่พระเจ้าอยู่หัวพระราชทาน ให้เป็นของประจำตำแหน่งเท่านั้น  ครุที่ใช้ตักน้ำก็ใช้ไม้ไผ่สานอย่างประณีต ในท้องตลาดจะเห็นราษฎรหุงข้าวกันในกะลามะพร้าว และข้าวจะสุกก่อนที่กะลาจะไหม้
            ๓. เครื่องมือของชาวสยาม  ถ้าไม่ใช่พวกทาส ชาวสยามก็สร้างบ้านเรือนของตนอยู่เอง เหตุนี้เลื่อย และกบไสไม้ จึงเป็นเครื่องมือของทุกคน
            ๔. เครื่องราชูปโภค  เกือบจะอย่างเดียวกันกับราษฎร แต่เป็นของดีมีค่ากว่าของสามัญชน ท้องพระโรง ณ สยาม และ ณ เมืองละโว้ ก็กรุฝา และเพดานด้วยไม้กระดาน ไม่ที่กรุนั้น ล่องชาด และเขียนกนกทองลายกระดาน และลายก้านขดพื้นปูพรม ท้องพระโรงที่เมืองละโว้ ประดับไว้รอบด้านด้วยกระจกเงา ซึ่งเรือกำปั่นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสบรรทุกมาสู่เมืองสยาม หอประชุมองคมนตรีก็ตกแต่งไว้ทำนองเดียวกัน ทางด้านลึก มีบัลลังก์ ราชอาสน์ ทำอย่างแท่นไม้ขนาดใหญ่คล้ายเตียงนอน มีเสาฐาน พื้น และวิสูตร ล้วนหุ้มด้วยแผ่นทองคำ พระราชอาสน์ปูพรม แต่ไม่ได้ดาษเพดาน กั้นวิสูตร หรือมีเครื่องประดับอย่างอื่นอีก ที่หัวพระแท่นมีพระเขนยอิง ไม่ได้ประทับบนพระยี่ภู่ แต่ประทับบนพรมเท่านั้น ในหอประชุมที่ผนังด้านขวาของพระบัลลังก์ มีกระจกเงาบานหนึ่ง ซึ่งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสโปรดให้ มร.เดอะ โชมองต์ นำมาน้อมเกล้า ฯ ถวาย พระเจ้ากรุงสยาม ยังมีพระราชอาสน์ไม้ปิดทองอีกองค์หนึ่ง ที่ทรงประทับในวาระที่ให้คณะฑูต พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสเข้าเฝ้าเป็นการส่วนพระองค์  มีเตียบ หรือพานพระศรี องค์หนึ่งสูง ๒ ฟุต ตั้งไว้ด้วย ทำด้วยเงินและลงทองบางแห่ง ฝีมือประณีต
            ๕. ชาม จาน เครื่องโต๊ะอาหารในพระราชวัง   ได้เห็นจานเงินเป็นจำนวนมากพอใช้ โดยเฉพาะถาดกลม และก้นลึก มีขอบสูงราวหนึ่งนิ้วฟุต  ในถาดวางโถขนาดใหญ่กลม เส้นผ่าศูนย์กลางหนึ่งนิ้วฟุตครึ่งไว้ หลายใบ มีฝาปิด มีเชิงเท้าได้ขนาดกับสัดส่วนของมัน ใช้ใส่ข้าวให้บริโภค  ส่วนจานผลไม้นั้นเป็นจานทองคำ เพื่อถวายพระเกียรติแด่พระมหากษัตริย์ ชาวสยามนิยมใช้ภาชนะทรงสูงตั้งเครื่องต้นถวาย และภาชนะที่ใช้เป็นปกติในการเสวยนั้น ก็เป็นเครื่องกระเบื้อง มิได้ใช้ภาชนะทองคำหรือเงิน ดังธรรมเนียมทั่วไปในราชสำนักทั้งหลาย ทางภาคพื้นอาเซีย และแม้ที่กรุงคอนสแตนติโนเปิล 

บทที่สี่ สำรับกับข้าวของชาวสยาม 

            ๑. ชาวสยามกินอาหารน้อย และอาหารของเขามีอะไรบ้าง  สำรับกับข้าวของชาวสยามไม่สู้ฟุ้มเฟือยนัก เนื่องด้วยมีฤดูร้อนติดต่อกันอยู่ตลอดเวลา อาหารหลักคือ ข้าวกับปลา ทะเลได้ให้หอยนางรม ตัวเล็ก ๆ มีรสชาดดีมาก เต่าขนาดย่อมเนื้อรสดี กุ้งทุกขนาด ปลาเนื้อดีอีกมาก แม่น้ำสมบูรณ์ด้วยปลา ส่วนใหญ่เป็นปลาไหลตัวงาม ๆ แต่ชาวสยามไม่สู้นิยมกินปลาสด
            ๒. ความประหลาดของปลาสองชนิด   มีปลาน้ำจืดอยู่สองชนิดเรียกว่า ปลาอุต และปลากระดี่  เมื่อจับปลาได้แล้ว นำมาหมักเกลือใส่รวมไว้ในตุ่ม หรือไหดินเผาดองไว้ ปลาจะเน่าในไม่ช้า
            ๓. การหมักเค็มของชาวสยาม  พวกเขาชอบบริโภคของที่หมักเค็มไว้ยังไม่ได้ที่ และปลาแห้งยิ่งกว่าปลาสด ธรรมชาติคงจะแต่งให้ชาวสยามกินอาหารประเภทที่ย่อยง่าย
            ๔. ชาวสยามคนหนึ่งกินวันละเท่าใด  เขาจะอิ่มด้วยข้าววันละ ๑ ปอนด์ ราคาประมาณ ๑ ลิอาร์ด และมีปลาแห้งอีกเล็กน้อย หรือไม่ก็ปลาเค็ม ซึ่งไม่แพงกว่าข้าวนัก เหล้าโรงหรือเหล้าที่ทำจากข้าว ขนาด ๑ ไปน์ ตกประมาณ ๒ ซู ก็พอแล้ว  ฉะนั้นจึงไม่สงสัยว่าทำไมชาวสยามจึงไม่สู้ สนใจกับการทำมาหากินนัก พอตกค่ำก็ได้ยินแต่เสียงร้องรำทำเพลงไปทั่ว ทุกบ้านเรือน
            ๕. น้ำจิ้มของชาวสยาม   ทำกันอย่าง่าย ๆ ใช้น้ำนิดหน่อยกับเครื่องเทศ กระเทียม หัวหอมกับผักบางชนิด เช่น กะเพรา พวกเขาชอบกินน้ำจิ้มเหลวชนิดหนึ่ง คล้ายกับมัสตาร์ด ประกอบด้วยกุ้งเคยเน่า เรียกว่า กะปิ
            ๖. ชาวสยามทาตัวเด็กให้เป็นสีเหลือง  สิ่งที่เขาให้แทนหญ้าฝรั่น เป็นหัวไม้ชนิดหนึ่งมีรสและสีอย่างเดียวกัน เมื่อตากให้แห้ง และป่นให้เป็นผงแล้ว เหง้าชนิดนี้เขาเห็นว่าเป็นการรักษาสุขภาพให้เด็ก
            ๗. ชาวสยามบริโภคน้ำมันอะไร  เขาไม่มีน้ำมันผลนัต น้ำมันผลมะกอก หรือน้ำมันอย่างอื่น นอกจากน้ำมันผลมะพร้าว ใช้บริโภคได้ดีเมื่อเคี่ยวออกมาใหม่ ๆ ถ้าทิ้งไว้นานจะมีกลิ่นหืน
            ๘. เรื่องที่เขียน (ผู้อ่าน)  ต้องเข้าใจความนึกคิดของผู้แต่ง
            ๙. ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้
            ๑๐. ข้อคิดอีกประการหนึ่งเกี่ยวกับเรื่องเดียวกันนี้
            ๑๑. น้ำนมที่กรุงสยาม  เขามีน้ำนมจากควาย ซึ่งมีครีมมากกว่านมวัว
            ๑๒. การแต่งกับข้าวชาวสยาม  ใช้ปลาแห้งแต่งเป็นกับข้าวได้หลายรูปแบบ
            ๑๓. อาหารจีน  กับข้าวมากกว่า ๓๐ ชนิด  ตามตำรับจีนที่นำมาเลี้ยงนั้น เขาไม่อาจกินได้สักอย่างเดียว
            ๑๔. ชาวสยามไม่ชอบกินเนื้อสัตว์และไม่มีโรงฆ่าสัตว์   จะกินบ้างแต่ลำใส้และเครื่องใน  ในตลาดมีตัวแมลงต่าง ๆ ปิ้ง ย่าง วางขายอยู่ พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานเป็ด ไก่ และสัตว์อื่นที่ยังเป็น ๆ อยู่ให้ เราต้องมาทำอาหารเอง เนื้อสัตว์ทุกชนิดเหนียว ไม่ค่อยฉ่ำและย่อยยาก  ในที่สุดชาวยุโรปที่เข้ามาอยู่ในเมืองสยาม ก็ค่อย ๆ เว้นกินเนื้อสัตว์
            ๑๕. เป็ด ไก่  ชาวสยามไม่สนใจตอนไก่  เขามีแม่ไก่อยู่สองพันธุ์ พันธุ์หนึ่งเหมือน ๆ กับเรา อีกพันธุ์หนึ่งมีหนัง และหงอนสีดำ แต่เนื้อและกระดูกขาว ส่วนเป็ดมีอยู่มาก และรสดีมาก
            ๑๖. สัตว์นก  ชาวสยามบริโภคนก ซึ่งมีขนสีต่าง ๆ
            ๑๗. สัตว์ที่เป็นเหยื่อล่าในป่า   เขาไม่นิยมฆ่า หรือจับเอาตัวมากักขังไว้ พวกแขกมัวร์ชอบเลี้ยงเหยี่ยวไว้จับนกอื่น
            ๑๘. นกพันธุ์แปลก ๆ ในสยาม  นกแทบทุกชนิดในสยาม มีสีสันงามตามาก และขันได้ไพเราะมีอยู่หลายพันธุ์ พูดเลียนเสียงมนุษย์ได้  กากับแร้ง มีชุม และเชื่องมาก เพราะไม่มีใครทำอันตราย คนให้อาหารมันกิน
            ๑๙. สิ่งที่เราเรียกว่า เนื้อสัตว์ไม่มีราคาในสยาม  แพะกับแกะ หาได้ยาก ตัวเล็ก เนื้อไม่สู้ดีนัก หาซื้อได้จากชาวมัวร์เท่านั้น พระเจ้ากรุงสยามให้เลี้ยงแพะ แกะไว้จำนวนหนึ่งสำหรับพระองค์เอง  ส่วนวัวกับควายผู้นั้น เขาเลี้ยงไว้ใช้ไถนา และขายแม่วัวเสีย
            ๒๐. หมูเป็นของดี  หมูนั้นตัวเล็ก และมีมันมากจนไม่น่ากิน
            ๒๑. ราคาเนื้อสัตว์  แม่วัวราคาตามหัวเมืองไม่เกิน ๑๐ ซอล ในพระนครตัวละ ๑๐ เอกิว  แกะตัวละ ๔ เอกิว แพะตัวละ ๒ - ๓ เอกิว  หมูตัวละ ๗ ซอล  เพราะพวกมัวร์ไม่กินหมู  ไก่ตัวเมียโหลละ ๒๐ ซอล เป็ดโหลละ ๑ เอกิว
            ๒๒. สัตว์ปีกขยายพันธุ์มากในกรุงสยาม  สัตว์จำพวก กวาง เก้ง มีชุม ชาวสยามฆ่ากวาง หรือสัตว์จำพวกนี้เพียงเพื่อถลกหนังเอาไปขาย ให้พวกฮอลันดาซึ่งกว้านซื้อไปขายเป็นสินค้าสำคัญในญี่ปุ่น
            ๒๓. โรคภัยไข้เจ็บ   ต้องตำหนิการดื่ม (สุรา)  น้อยของชาวสยามแต่เมื่อเทียบส่วนสมดุล กับไฟธาตุของเขาแล้ว ก็พออนุมานว่าเขาไม่ได้ดื่มน้อยกว่าพวกเราเลย  เขามีอายุไม่ยืนนัก โรคที่เป็นกันมากคือ โรคป่วงและโรคบิด บางทีเป็นไข้ตัวร้อน (จับสั่น) ซึ่งพิษอาจขึ้นสมองได้ง่าย และอาจคล้ายเป็นโรคปอดบวมได้ โรคปวดตามข้อ ลม อัมพาต ลมบ้าหมู วัณโรคปอด ปวดวท้องทุกชนิด และโรคไตอักเสบมีน้อย ส่วนมะเร็ง ฝีโพรงหนองและปรวตมีมาก ไฟลามทุ่งเป็นกันมาก ไม่มีโรคลักกะปิดลักกะเปิดและโรคท้องมาน
            ๒๔. อะไรคือโรคห่าในกรุงสยาม  โรคห่าแท้จริงคือ ฝีดาษ เคยสังหารชีวิตมนุษย์เป็นอันมากอยู่เสมอ 

บทที่ห้า รถและยานพาหนะทั่วไปของชาวสยาม 

            ๑. สัตว์เลี้ยงใช้งาน  นอกจากวัวควายแล้วยังมีช้างซึ่งใช้เป็นสัตว์พาหนะ การล่าช้างเปิดเสรีแก่ทุกคน งานธรรมดาใช้ช้างพัง ช้างพลายใช้ออกศึก เมืองสยามไม่เหมาะกับการเลี้ยงม้า ไม่มีลาและล่อ แต่ชาวมัวร์บางคนที่มาอยู่ในเมืองสยามมีอูฐไว้ใช้โดยส่งเข้ามาจากที่อื่น
            ๒. ม้าพระที่นั่งของพระเจ้ากรุงสยาม  โปรดให้เลี้ยงม้าไว้ ๒,๐๐๐ ตัว มีม้าจากเปอร์เซียราวโหลตัว แต่เสื่อมพันธุ์หมดแล้ว เป็นอภินันทนาการจากพระเจ้ากรุงเปอร์เซีย โดยอัครราชทูตเปอร์เซียมาน้อมเกล้า ฯ ถวาย ธรรมดาจะ .....ส่งทรงเจ้าพนักงานไปหาซื้อม้าที่เมืองปัตตาเวีย ซึ่งเป็นม้าพันธุ์เล็ก เปรียวพอใช้ แต่มีพยศจัด
            ๓. ทหารม้าและทหารราบที่เมืองปัตตาเวีย  กองพันทหารที่เมืองปัตตาเวียเป็นหน่วยทหารราบ มีคนชาติฝรั่งเศสรวมอยู่หลายคน หน่วยทหารม้ามีแต่ชาวเมืองที่เป็นชนชั้นกลาง
            ๔. พระเจ้ากรุงสยามไม่ค่อยได้ทรงม้า  เมื่อเราไปถึง (เมืองปัตตาเวีย) มีคนสยามสองนายไปหาซื้อม้า ๒๐๐ ตัว สำหรับพระมหากษัตริย์ และได้ส่งไปที่กรุงสยามแล้ว ๑๕๐ ตัว ทั้งนี้ใช่ว่าพระองค์จะโปรดม้า อาจรู้สึกว่าเตี้ยเกินไป ส่วนช้างเห็นว่าเหมาะแก่การรบมาก
            ๕. ช้างพระที่นั่งประจำซองในวังหลวง  มีอยู่เชือกหนึ่งประจำอยู่เสมอพร้อมใช้ขับขี่ได้ทุกขณะ และไม่มีม้าพระที่นั่งยืนโรงอยู่เลย
            ๖. ไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้ากรุงสยามเสด็จ ฯ  เสมอระดับพื้นดินเลย  ในวังหลวงตรงที่ตั้งโรงช้างมีเกยเล็ก ๆ ตั้งอยู่ เพื่อพระเจ้าอยู่หัวทรงช้างได้สะดวก หากจะเสด็จโดยพระราชยานคานหาม ก็จะเสด็จมาประทับพระราชยาน  ซึ่งเทียบรอรับเสด็จอยู่ในระดับสูงทางช่องพระบัญชร หรือไม่ก็ทางพระเฉลียง
            ๗. พระราชยานคานหาม  เสลี่ยงเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส และพื้นนั่งแบนราบ ยกสูงขึ้นไปมากบ้างน้อยบ้างเอาตัวขึ้น และตรึงไว้ให้แนบกับคานหาม ใช้คนสี่หรือแปดคน บางทีที่นั่งก็มีพนัก และเท้าแขนเหมือนเก้าอี้ บางทีก็มีเพียงลูกกรงสูงประมาณครึ่งฟุตล้อม เว้นช่องไว้ด้านหน้า แต่คนสยามมักนั่งขัดสมาธิ บางทียานนี้ก็โถง บางทีก็มีประทุนซึ่งมีอยู่หลายแบบ
            ๘. ยานมีหลังคาไม่มีเกียรติเสมอเครื่องสูง  ได้เห็นพระเจ้ากรุงสยามประทับช้างพระที่นั่งไม่มีหลังคา เป็นพระที่นั่งโถง ทางด้านหน้า ด้านข้าง และด้านหลังมีเครื่องสูงรูปเหมือนใบไม้ใหญ่ ๆ หรือช่อนนภทาทองรวมสามชิ้น ปลายงอนออกมาทางด้านนอกเล็กน้อย ตั้งอยู่เสมอพระอังสะ เมื่อพระเจ้าอยู่หัวเสด็จหยุด เจ้าพนักงานจะเชิญบังสูรย์คันยาวรูปร่างเหมือนหอกใบพายมากั้นแสงแดดให้ ตัวใบหอก กว้าง ๓ - ๔ ฟุต เรียกว่าพัดโบก (ที่จริงคือบังสูรย์)
            ๙. ชาวสยามขี่ช้างกันอย่างไร  จะขี่คร่อมคอเหมือนคอม้า แต่ไม่มีเครื่องอานบังเหียนแต่อย่างใด ถือแต่ขอทำด้วยเหล็กหรือเงิน ใช้สำหรับสับที่หัวช้างทางซีกขวาบ้าง หรือตรงกลางตะบองหน้าผาก พร้อมกับร้องบอกช้างว่าควรจะไปทางไหน หรือว่าให้หยุด เมื่อไม่ขี่ด้วยตนเองก็ขึ้นนั่งลูบหลังช้าง แล้วมีคนขับนำช้างที่คอช้าง บางทีก็มีอีกคนหนึ่งนั่งท้ายช้างไปด้วย เรียกควาญท้ายช้างว่าหัวสิบ คือนายสิบ หรือผู้คุมคน ๑๐ คน คนที่นั่งคอช้างเรียกว่า นายช้าง เป็นผู้บังคับบัญชาบรรดาคนที่ดูแลช้างทั้งหมด
            ๑๐. ยานพาหนะเรือยาว  คนในเมืองนี้เดินทางเรือมากกว่าทางบก พระเจ้ากรุงสยามมีเรือยาวพระที่นั่งอย่างงดงามไว้เป็นอันมาก ลำเรือทำจากซุงท่อนเดียว บางลำยาว ๑๖ - ๒๐ วา คนสองคนนั่งขัดสมาธิเดียวขนานกันไปบนกระทงเรือ พอต็มพื้นที่ด้านกว้างของเรือพอดี คนหนึ่งพายทางกราบขวา อีกคนพายทางกราบซ้าย คนถือท้ายหันหน้าไปทางหัวเรือ ฝีพายหันหลังให้หัวเรือ



เรือขุนนาง

            ๑๑.รูปร่างที่ถูกต้องของเรือยาว  เรือยาวลำหนึ่ง บางทีมีฝีพาย ๑๐๐ - ๑๒๐ คน นั่งขัดสมาธิเรียงคู่กันไปบนแผ่นกระดาน ขุนนางชั้นผู้น้อยมีเรือขนาดสั้นกว่า และมีฝีพายน้อยลงเพียง ๑๖ - ๒๐ คน พวกฝีพายจะร้องเพลง หรือออกเสียงให้จังหวะ เพื่อให้พายพร้อมกัน ดูสง่างามมาก เรือแล่นฉิวน่าดูนัก หัวเรือและท้ายเรือสูงมาก รูปร่างเหมือนคอและหางนาค หรือปลาขนาดมหึมาชนิดใดชนิดหนึ่ง ใบพายทั้งสองกราบดูคล้ายปีกหรือครีบ ตรงหัวเรือมีฝีพายอยู่คนเดียวที่แถวหน้า ขาซ้ายกับขาขวาทั้งสองข้างจำเป็นต้องเหยียดขาข้างหนึ่งออกไปนอกลำเรือ เอาเท้ายื่นไม้ขวางหัวเรือไว้ คนชักหัวเรือฝีพายต้นนี้เป็นผู้ให้จังหวะแก่ฝีพายทั้งลำ พายของเขาเบากว่าของคนอื่น ๆ เล็กน้อย เพราะนั่งอยู่ตรงหัวเรือที่เชิดสูงขึ้น ฝีพายจ้ำพายลงทุกครั้งที่ให้จังหวะ ถ้าต้องการให้ไปเร็วขึ้นก็จ้ำสองครั้งนาน ๆ ที นายท้ายยืนอยู่ท้ายเรือตลอดเวลา ท้ายเรือเชิดสูงไปมาก หางเสือนั้นเป็นพายขนาดยาวมิได้ขันติดอยู่กับเรือ เขาจะกดพายดิ่งลงไปในน้ำแนบกับกราบเรือ ทางขวาบ้างทางซ้ายบ้าง นางทาสีทำหน้าที่เป็นฝีพายประจำเรือท่านผู้หญิง





รูปบน เรือยาวที่เอกอัครราชทูตของฝรั่งเศสนั่งมายังอยุธยา





รูปล่าง เรือยาวพระที่นั่งของพระบาทสมเด็จพระนารายณ์มหาราชที่มีพระราชสาส์นของพระเจ้าหลุยส์ที่ 14
            ๑๒. เรือชนิดต่าง ๆ  เรือที่ใช้กันตามธรรมดา มีผู้พายน้อยคน ที่กลางลำมีประทุนจัดแตะด้วยไม้ไผ่หรือเก้งไม้อย่างอื่น ไม่ทาสีหรือทาน้ำมันชักเงาแต่อย่างใด ภายในอยู่ได้ทั้งครอบครัว บางทีประทุนก็มีกันสาดยื่นออกไปข้างหน้า สำหรับเป็นที่อยู่อาศัยของพวกทาส ชาวสยามเป็นอันมากอยู่แต่ในเรือ ในเรือยาวสำหรับพระราชพิธี หรือเรือพระที่นั่งต้น หรือเรือหลวง ตรงกลางลำมีที่นั่งที่เดียว กินพื้นที่เกือบเต็มความกว้างของลำเรือ ที่นั่งสำหรับคนเดียวกับสาตราวุธ ถ้าเป็นขุนนางธรรมดาก็มีร่มธรรมดาคันเดียว ถ้าเป็นขุนนางชั้นผู้ใหญ่ขึ้นไปนอกจากที่นั่งบจะสูงขึ้นแล้วยังมีหลังคาเรียกว่ากูบ เป็นซุ้มที่นั่งวทึบ เปิดด้านหน้าและด้านหลัง ทำด้วยไม้ไผ่ จักและสานทาด้วยรักสีดำหรือสีแดง ทั้งภายนอกและภายใน รักสีแดงสำหรับขุนนางฝ่ายขวา รักสีดำสำหรับขุนนางฝ่ายซ้าย ขอบกูบปิดทองด้านนอกเป็นแถบกว้าง ๓ - ๔ นิ้วฟุต อ้างกันว่าการทาแถบทอง โดยวาดเป็นลวดลายประดับนั้น เป็นเครื่องหมายแสดงยศศักดิ์ของขุนนาง รูปกูบบางอันก็ใช้หุ้มด้วยผ้า แต่ไม่ได้ใช้ในฤดูฝน ถ้าพระเจ้าอยู่หัวเสด็จผ่านไป ขุนนางจะลงจากที่นั่งลงสู่พื้น และหมอบกราบบังคม บรรดาคนในเรือก็หมอบทั้งสิ้น จะเดินทางต่อไปได้ก็ต่อเมื่อพระเจ้าอยู่หัว เสด็จลับสายตาไปแล้วเท่านั้น
            ๑๓. เรือหลวง  หลังคาเครื่องยอดของขบวนเรือหลวงนั้นปิดทองทั่ว พายก็ปิดทอง หลังคามีเสารับและประดับด้วยลวดลายจำหลัก เป็นลายกระจังอย่างวิจิตร หลังคาบางหลังมีสันสาดบังแสงแดด เรือหลวงต้นลำที่พระเจ้าอยู่หัวทรงนั้น มีกรรมการหรือเจ้าพนักงานสี่นายเป็นผู้บังคับฝีพายทั้งลำ อยู่ข้างหน้าสองคน ข้างหลังสองคน นั่งขัดสมาธิ
            ๑๔. ความเร็วของเรือยาว  เรือแล่นได้เร็ว แม้จะทวนน้ำ และเมื่อหมู่เรือยาวแล่นไปพร้อม ๆ กันก็น่าดูมาก
            ๑๕. เมื่อคณะอัครราชทูตพิเศษเข้าสู่พระนครทางชลมารค  เขาสารภาพว่าเมื่อคณะอัครราชทูตฝรั่งเศส เคลื่อนสู่ลำแม่น้ำ ความสง่างามของริ้วขบวนแห่แหน ลำน้ำกว้างพอดู แม้จะคดเคี้ยวแต่ก็มีร่องกลางน้ำใหญ่ พอที่เรือจะผ่านได้สะดวก สองฝั่งแม่น้ำมีสวนผลไม้ เขียวชะอุ่มต่อกันไม่ขาดระยะ มีผู้คนเกือบ ๓,๐๐๐ คน ในเรือยาว ๗๐ - ๘๐ ลำ มาร่วมขบวนแห่ ลอยลำขนาบไปเป็นสองแถว
เสียงกึกก้องแต่ไพเราะด้วยเสียงเห่ เสียงโห่ เสียงกระจับปี่สีซอ
            ๑๖. ความสง่างามแต่โบราณของราชสำนักสยาม  มีผู้ยืนยันว่า ที่กรุงสยามนั้น (แต่ครั้งบ้านเมืองดี) ราชสำนักสง่างามรุ่งเรืองยิ่ง พระราชวงศ์ข้าทูลละอองธุลีพระบาทล้วนแต่งกายด้วยเสื้อราคาแพง ประดับอัญมณีแพรวพราว และข้าทาสบริวารติดตาม ๑๐๐ - ๒๐๐ คน  ใช้ช้างเป็นพาหนะก็มาก แต่บัดนี้ไม่เป็นเช่นนั้นแล้วนับแต่พระราชบิดาของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้ทรงพิฆาตเจ้านาย ขุนนางชั้นผู้ใหญ่ เสียแทบไม่เหลือ  ปัจจุบันมีเจ้านายอยู่ ๓ - ๔ องค์เท่านั้น ที่ได้รับพระบรมราชานุญาตให้ใช้ยวดยานคานหาม ส่วนชาวยุโรปที่อยู่ในกรุงสยามยังได้รับอนุญาตให้ใช้ได้อยู่
            ๑๗. ร่มกันแดด  ใช้ได้แต่ไม่ทั่วไปในบรรดาไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน อนุญาตให้ชาวยุโรปใช้ได้ทุกคน เป็นร่มชั้นเดียว เป็นเครื่องแสดงเกียรติอย่างต่ำ ซึ่งพวกขุนนางส่วนมากใช้กันอยู่ ร่มที่มีหลายชั้นในก้านเดียวกัน ใช้ได้เฉพาะพระเจ้าอยู่หัวเท่านั้น ร่มที่เรียกว่า กลดมีตัวร่มชั้นเดียวแต่ติดระบายมีลวดลายรอบ ๒ - ๓ ชั้น เลื่อนกันลงมา เป็นร่มที่พระเจ้ากรุงสยามถวายแด่พระสังฆราช หรือพระสังฆนายก ร่มที่พระราชทานแด่คณะอัครราชทูตพิเศษ ก็เป็นอย่างเดียวกันนี้มีระบายสามชั้น
            ๑๘. ร่มของพระสงฆ์และที่มาของคำว่าตาละปวง  พระสงฆ์ใช้ร่มเป็นแผงซึ่งถือติดมือไปไหนมาไหน ทำด้วยใบลานเจียนเป็นรูปกลมและจีบ ปลายจีบร้อยด้วยลวดมามัดไว้ที่ใกล้ก้าน ก้านดัดเป็นด้ามถือเรียกว่า ตาลปัตร  นามพระสงฆ์เรียกกันว่า เจ้ากู
            ๑๙. ช้างกับเรือ  อนุญาตให้ราษฎรใช้ได้ทั่วไป
            ๒๐. พระเจ้ากรุงสยามแสดงพระองค์เมื่อใดและอย่างใด  ตามโบราณราชประเพณีแห่งราชสำนักกำหนดให้ปรากฏ พระองค์ให้ไพร่ฟ้าประชาราษฎร เฝ้าถวายบังคมเพียงปีละ ๕ - ๖ วันเท่านั้น และประกอบเป็นพระราชพิธีใหญ่  สมัยก่อนพระเจ้ากรุงสยามเสด็จออกทรงทำพิธีจรดพระนังคัลแรกนาขวัญทุกปี ต่อมาได้ทรงมอบให้ออกญาข้าว  พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกในวันพระราชพิธีทางชลมารค เพื่อให้พระแม่คงคาไหลคืนลงสู่ท้องน้ำในยามฤดูกาลเพาะปลูก พระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันเป็นพระองค์แรกที่ทรงเลิกพิธีนี้เสีย
            แฟร์นังค์ เมนเดช ปินโต เล่าว่าในสมัยของเขา พระเจ้ากรุงสยามเคยเสด็จออกวันหนึ่งในปีหนึ่ง โดยประทับบนหลังพระเศวตคชาธาร เสด็จไปบนถนนเก้าสายในพระนคร และพระราชทานข้าวของเป็นอันมากแก่พสกนิกร บัดนี้เลิกไปแล้ว พระเจ้าอยู่หัวเสด็จออกแสดงพระองค์ต่อพสกนิกร ในพระนครเพียงปีละสองครั้งคือ ตอนต้นเดือนหก และเดือนสิบสอง เพื่อไปถวายนิตยภัต ผ้าไตรจีวร และผลหมากรากไม้แด่พระสงฆ์ในวัดสำคัญ ๆ ในวันสำคัญทางศาสนา พระองค์ประทับช้างพระที่นั่งไปสู่อารามต่าง ๆ แล้วเสด็จทางชลมารคไปสู่อารามอีกแห่งหนึ่ง อยู่ห่างจากพระนครไปทางใต้ประมาณ ๒ ลี้
            ๒๑. พระเจ้ากรุงสยามไว้พระเกียรติที่เมืองละโว้น้อยกว่าที่อยุธยา  ที่เมืองละโว้ พระองค์เสด็จประพาสไปในที่ต่าง ๆ ได้บ่อย เช่น ล่าเสือ หรือโพนช้าง เมื่อเสด็จไปพระตำหนักน้อยที่ทะเลชุบศร พร้อมฝ่ายในโดยพระบาท
            ๒๒. ขบวนแห่เสด็จ ฯ ของพระเจ้ากรุงสยาม  ขบวนแห่เสด็จ ฯ โดยเสด็จทั้ง ๒๐๐ - ๓๐๐ คน ทั้งเดินเท้าและขี่ม้า ขบวนหน้ามีพลเดินเท้าถือพลอง หรือหลอดไม้ซางสำหรับเป่าเมล็ดถั่วนำไปเป็นเหล่า ๆ เพื่อไล่คนให้พ้นทางเสด็จ ฯ โดยเฉพาะเมื่อขบวนพระสนมจะโดยเสด็จผ่านไป และก่อนจะถึงเวลาเสด็จ ฯ ก็มีการประกาศเตือนชาวยุโรปที่เพิ่งเข้ามาสู่เมืองสยามมิให้ตัดหน้าฉาน ผู้ทำหน้าที่นำเสด็จ ฯ เรียกว่า นครบาล และแขวง นครบาลรักษาสถลมารคทางเบื้องขวา แขวงรักษาทางเบื้องซ้าย แขวงเป็นตำแหน่งเจ้ากรมพระตำรวจ มีเจ้าพนักงานตำรวจ ๑ นายในเหล่าอาสาเขมร และลาว ขี่ม้าแซงสองข้างทาง ห่างจากราชพาหนะ ๕๐ - ๖๐ ก้าว เหล่าข้าราชบริพารนำเสด็จ ฯ ถึงจุดหมายปลายทางก่อนหรือบางครั้งก็เดินตามเสด็จโดยพนมมือแค่อกไปตลอดทาง บางทีขี่ม้า บางทีขี่ช้างตามเสด็จ ฯ ไป  เมื่อพระเจ้าอยู่หัวหยุดราชพาหนะ เหล่าเดินเท้าจะทรุดลงหมอบเข่าและศอกจรดดิน ส่วนเหล่าม้า และเหล่าช้าง จะหมอบกราบอยู่บนหลังสัตว์พาหนะที่ขี่อยู่  เจ้าพนักงานที่เรียกว่าชาวหมู่ เดินเท้าตามเสด็จ ฯ เป็นเหล่ามหาดเล็กเด็กชา บางคนก็เชิญพระแสงศาตราวุธ บางคนก็เชิญหีบพระศรี
            ๒๓.  การเคารพต่อองค์พระมหากษัตริย์อย่างแปลก ๆ


บทที่หก การแสดงการละเล่นอย่างอื่นของชาวสยาม 

            ๑. วิธีจับช้างเถื่อน  สถานที่จัดให้ช้างอยู่เพื่อเลือกจับคล้ายสนามเพลาะขนาดกว้างและยาวพอใช้ ใช้ในการพูนดินเป็นพนังขึ้นมา เกือบจะตรงเป็นทางดิ่งทุกด้าน บนเนินดินเป็นที่นั่งชมของคนดู ที่ตรงกลางวงล้อมเนินดินปักเสาไม้รายรอบสองแถวสูง ๑๐ ฟุต ลงในดิน เสามีขนาดใหญ่พอที่จะทานกำลังช้างดันได้ และห่างกันพอที่คนจะลอดช่องเสาได้สะดวก  ระหว่างเสาเพนียดสองชั้นนี้ ใช้เป็นที่ช้างพังเชื่อง ซึ่งเขาส่งเข้าไปในป่าเพื่อล่อช้างพลายเถื่อนมา หมอช้างที่ขี่ไปนั้น ใช้ใบไม้บังไพรกำบังตนเพื่อกันมิให้ช้างเถื่อนในป่าหวาดตื่น  เมื่อช้างพลายเข้าไปในฉนวนแล้ว ประตูที่มันใช้งวงเปิดผลักผ่านเข้าไปก็กลับปิดลง  ส่วนประตูด้านหน้าทางที่ช้างเถื่อนออกไปได้ เขาก็ปิดกั้นให้แน่นหนา คนที่แฝงอยู่ตามรอบนอกริมเสาเพนียดโดยช้างเถื่อนเข้าไม่ถึงตัวก็จะเข้าช่องเสารุมล้อม
กันทุกด้านเพื่อล่อกวนผัดช้างให้ไล่  เมื่อช้างไล่ คนก็หนีลอดหลบออกมานอกเสาเพนียด  คนอื่น ๆ ก็เอาเชือกบาศก์เหวี่ยงทอดไปอย่างชำนาญ คล้องตีนหลังช้างตีนใดตีนหนึ่งไว้ ดึงปลายเชือกบาศก์รัดข้อตีนช้างไว้  เชือกบาศก์นี้เป็นเชือกเส้นใหญ่ผูกเป็นบ่วงเชือกกระทบ เมื่อเชือกบาศก์รัดข้อตีนช้างแล้วก็ปล่อยผ่อนเชือกไป  เมื่อช้างเถื่อนคืนสู่สภาพปกติ เขาก็ใช้ถังตักน้ำเย็นราดตัวมันให้ชุ่มเย็น จัดการผูกปลายเชือกบาศก์เข้ากับเสาเพนียด แล้วนำช้างพลายที่ฝึกไว้ดีแล้วเดินถอยหลังเข้าไปในซองฉนวน ผูกล่ามคอมันกับคอช้างเถื่อน ปลดเชือกบาศก์ออกจากเสาเพนียดแล้วใช้ช้างต่ออีกสองเชือกเข้ามาช่วยผนึกกำลัง สองเชือกเข้าขนาบช้าง เชือกที่สามเข้ารุนด้านหลัง ขะโลงช้างเถื่อนไปสู่ปะรำใกล้ ๆ กันนั้น ผูกล่ามมันไว้และผูกคอผนึกแน่นกับเสาปะโคมใหญ่ ผูกอยู่เพียง ๒๔ ชั่วโมง ระหว่างนี้จะนำช้างต่อมาอยู่เป็นเพื่อน และปลอบใจ ๒ - ๓ เที่ยว จากนั้นนำมันไปยังโรงที่จัดไว้ให้อยู่ ๘ วันก็จะเชื่อง
            ๒. ชาวสยามคิดเห็นช้างเป็นอย่างไร
            ๓. ชาวสยามลาช้างสารเชือกที่พระเจ้ากรุงสยามพระราชทานส่งไปเมืองฝรั่งเศส
            ๔. ช้างเป็นสัตว์น่ากลัวอันตรายมาก
            ๕. การชนช้าง  ได้เห็นช้างศึกสองเชือกชนกัน ตีนหลังของช้างศึกทั้งคู่ถูกผูกเชือกพวนไว้ มีหลายคนยืดหางเชือกพวนและมัดหางเชือกไว้กับหลัก ไว้ระยะห่างกัน จนจากที่ช้างทั้งสองเชือกจะประสานงวง ในขณะเข้าปะทะกันได้  ช้างแต่ละเชือกมีหมอควาญประจำคอยบังคับ  เมื่อปล่อยให้สู้กัน ๕-๖ พัก ก็เป็นอันจบ  แล้วจัดช้างพังเข้ามาล่อแยกช้างศึกออกจากกัน
            ๖. การชนไก่  ชาวสยามชอบการชนไก่มาก  การชนไก่ลงเอยด้วยการตายของคู่ต่อสู้  พระเจ้ากรุงสยามจึงได้ทรงให้ออกประกาศห้ามการชนไก่เสีย
            ๗. ละครจีน (งิ้ว)  คนสยามชอบไปดูทั้ง ๆ ที่ฟังไม่รู้เรื่อง
            ๘. การแสดงหุ่นกระบอก  เป็นใบ้ไม่ออกเสียง หุ่นกระบอกจากลาว คนชอบดูมากกว่า
            ๙. นักไต่ลวด และการเล่นไม้สูง  นับว่าดีมาก ราชสำนักมักจัดให้มีการแสดงถวายเสมอ  เมื่อเสด็จไปเมืองละโว้
            ๑๐. พระเจ้ากรุงสยามโปรดการแสดงไม้สูงมาก  เคยมีการตายกันขึ้นเมื่อหลายปีมาแล้ว
            ๑๑. งูเลี้ยงจนเชื่อง  สัตว์จำพวกเดียวที่ชาวสยามฝึกไว้คือ งูขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง ซึ่งว่ากันว่าดุร้ายนัก ต้องนับว่าเป็นกระบวนกรเล่นกลมากกว่า
            ๑๒. งานมหรสพทางศาสนา ตามไฟในน้ำ บนบก และในพระบรมมหาราชวัง   ชาวสยามมีมหรสพเนื่องในการพระศาสนาด้วย ถึงฤดูน้ำเริ่มลดประชาชนพลเมือง จะแสดงความขอบคุณแม่คงคา ด้วยการตามประทีปโคมไฟขนาดใหญ่ (ในแม่น้ำ)  อยู่หลายคืน  ทั้งลำแม่น้ำเต็มไปด้วยดวงประทีปลอยน้ำ  (กระทง)  น้อยใหญ่ และมีกระดาษสีต่าง ๆ ประดับประดากระทง  เพื่อแสดงความขอบคุณต่อแม่พระธรณี ที่ช่วยให้เก็บเกี่ยวพืชพรรณธัญญาหาร ได้อุดสมบูรณ์  ในวันต้น ๆ ของปีใหม่ ชาวสยามจะตามประทีปโคมไฟอย่างมโหฬารอีกครั้ง ที่เมืองละโว้ได้เห็นกำแพงเมืองตามประทีปโคมไฟ สว่างไสวเรียงรายอยู่เป็นระยะ ๆ  ภายในพระราชวังยิ่งงดงามขึ้นไปอีก
            ๑๓. ดอกไม้เพลิงที่งามมาก   ไม่เคยเห็นดอกไม้เพลิงที่ไหนจะดีเท่าที่พวกชาวจีนที่อยู่ในสยามทำขึ้น พวกจีนตามประทีปโคมไฟอย่างมโหฬารในเทศกาลขึ้นปีใหม่
            ๑๔. ว่าวกระดาษ  เป็นการละเล่นสนุกของราชสำนักทุกแห่งในชมพูทวีปในฤดูหนาว บางทีก็ผูกโคมประทีปขึ้นไปกับว่าว ดูเหมือนดวงดาว ว่าวของพระเจ้ากรุงสยามปรากฎในท้องฟ้าทุกคืนตลอดเวลาสองเดือน ของฤดูหนาว และทรงตั้งขุนนางให้คอยเปลี่ยนเวรกันถือสายป่านไว้
            ๑๕. มหรสพสามอย่างของชาวสยาม  ประเภทเล่นโรงมีอยู่สามอย่าง เรียกว่า โขน  ผู้แสดงสวมหน้ากากและถืออาวุธ แสดงบทหนักในทางสู้รบกันมากกว่าการร่ายรำ  หน้ากากส่วนใหญ่น่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร (ลิง) หรือไม่ก็เป็นหน้าปีศาจ (ยักษ์)  มหรสพที่เรียกว่า ละคร  เป็นบทกวีนิพนธ์สุดดีความกล้าหาญแกมนาฎศิลป์ ใช้เวลาแสดงถึงสามวัน ตั้งแต่แปดโมงเช้าถึงเจ็ดโมงเย็น  ตัวเรื่องนั้นเป็นคำกลอนแสดงให้เห็นเป็นจริงจัง ตัวแสดงที่อยู่ในฉากนั้นหลายคนจะผลัดกันร้อง เมื่อถึงบทของตัว ตัวละครตัวหนึ่งขับร้องในบทของตัวชื่อเรื่อง ตัวแสดงอื่น ๆ ก็ขับร้องตามบทของบุคคลที่เรื่องนั้นกล่าวพาดพิงถึง ตัวละคนชายเท่านั้นที่ขับร้อง ตัวละครหญิงไม่ขับร้องเลย ส่วนระบำ เป็นการฟ้อนรำร่วมกันทั้งชายและหญิง ไม่มีบทรบราฆ่าฟัน  มีแต่เชิงโอ้โลมปฎิโลมกัน  นักระบำชายหญิงสวมเล็บปลอมยาวมาก  ทำด้วยทองเหลืองเขาร้องไปรำไปพร้อม ๆ กัน  มีชายสองคนมาเจรจากับคนดูดด้วยถ้อยคำตลกโปกฮา  คนหนึ่งกล่าวในนามของผู้แสดงฝ่ายชาย อีกคนในนามฝ่ายหญิง ผู้แสดงดังกล่าวไม่มีเครื่องแต่งตัวแปลกอะไร  โขนกับระบำมักไปแสดงในงานปลงศพ อาจไปเล่นในงานอื่น ๆ บ้าง ละครมักไปเล่นในงานฉลองอุโบสถ หรือวิหาร ที่สร้างใหม่ ในโอกาสอัญเชิญพระพุทธรูปขึ้นประดิษฐานเป็นพระประธาน
            ๑๖. มวยปล้ำและมวยชก  การฉลองวัดมีการวิ่งวัว และการกีฬาเครื่องสนุกสนานอย่างอื่นด้วย เช่น มวยปล้ำ และมวยที่ต่อสู้กันด้วยศอกและหมัด  นักมวยพันมือด้วยด้ายดิบสามหรือสี่รอบ แทนกำวงแหวนทองแดง เช่นที่พวกลาวใช้ในการชกมวยประเภทนี้
            ๑๗. การวิ่งวัว  จะจัดพื้นที่ขนาดประมาณ ๕๐๐ วา  กว้างประมาณสองวา  ด้วยเสาสี่ต้นปักไว้มุมละต้น เป็นหลักเขต การวิ่งวัวทำกันนอกหลักเขตนี้ ตรงกลางพื้นที่ที่จัดไว้สร้างร้านสำหรับผู้ตัดสิน และเป็นที่หมายศูนย์กลางของจุดเริ่มต้นของวัว ที่จะออกวิ่งด้วย  บางทีก็เป็นการวิ่งแข่งระหว่างวัวคู่หนึ่ง ตัวต่อตัวแต่ละตัวมีพี่เลี้ยงจูงวิ่งมาสองคน ถือสายเชือกที่สนตะพายจมูกไว้ ขนาบมาข้างละคน และวางคนไว้เป็นระยะ ๆ คอยผลัดเปลี่ยนคนวิ่ง แต่โดยมากมักให้วัวคู่หนึ่งเทียมคันไถ แข่งกับวัวอีกคู่หนึ่งเทียมคันไถเช่นกัน  มีคนวิ่งตามทั้งขวาและซ้ายเหมือนอย่างแข่งวัวตัวต่อตัว มีอีกคนหนึ่งคอยยกไถแล้ววิ่งตามด้วย คนที่จะเข้าผลัดเปลี่ยนคนยกไถระยะถี่กว่าพวกจูง  การวิ่ง จะวิ่งเวียนขวาไปในทางเดียวกัน วิ่งเวียนไปรอบหลักทั้งสี่หลายรอบ จนฝ่ายหนึ่งวิ่งทับอีกฝ่ายหนึ่ง ผู้ดูล้อมวงอยู่รอบนอก การวิ่งวัวนี้มีการพนันขันต่อด้วย การแข่งขันบางทีก็เปลี่ยนเป็นวิ่งควายด้วย

ฝีพาย พายเรือ

            ๑๘. การแข่งเรือ  การแข่งเรือเป็นกีฬามากกว่าการละเล่น  ชาวสยามเลือกเรือยาวสองลำมาเปรียบสัดส่วน ให้เท่ากันทุกอย่างเท่าที่จะทำได้ แล้วแบ่งออกเป็นสองพวก เพื่อพนันขันต่อกัน พวกกรรมการลุกขึ้นยืนทำจังหวะเร่งเร้า พวกฝีพายส่งเสียงร้องอย่างน่าเกรงขาม  คนดูก็เปล่งเสียงร้องและออกท่าทาง
            ๑๙. การรักที่จะเล่นการพนัน  ชาวสยามรักการเล่นการพนันมาก จนฉิบหายขายตน หรือไม่ก็ขายบุตรธิดาของตน (ไปเป็นทาส)   การพนันที่ชอบเล่นมากที่สุดคือ สกา  ซึ่งดูเหมือนจะได้เรียนการเล่นมาจากชาวปอร์ตุเกศ ชาวสยามไม่เล่นไพ่เลย  เขาเล่นหมากรุกตามแบบของเราและแบบของจีน
            ๒๐. ชาวสยามชอบยาเส้น  พวกผู้หยิงก็นิยมสูบกัน  ชาวสยามได้ยาสูบมาจากเมืองมนิลา เมืองจีน และที่ปลูกขึ้นเอง
            ๒๑. การใช้ชีวิตตามปกติของชาวสยาม  ชายชาวสยามรักลูกเมียมาก  ในระหว่างที่พวกผู้ชายถูกเกณฑ์ไปเข้าเวรยาม มีกำหนดหกเดือนนั้นในทุกปีนั้น เป็นภาระของภรรยา มารดา และธิดา เป็นผู้หาอาหารไปส่งให้ และเมื่อพ้นเกณฑ์แล้วกลับมาอยู่บ้าน ผู้ชายส่วนมากก็ไม่ทำงานอะไรเป็นล่ำเป็นสัน ชีวิตตามปกติของชาวสยามเป็นไปด้วยความเกียจคร้าน ไม่เที่ยวล่าสัตว์ ได้แต่นั่งเอนหลัง กิน เล่น สูบบุหรี่ แล้วก็นอนไปวัน ๆ  ภรรยาจะปลุกให้เขาตื่นประมาณเจ็ดโมงเช้า เอาอาหารมาให้กิน เสร็จแล้วก็นอนใหม่ พอเที่ยงก็ลุกมากินอีก แล้วเอนหลังใหม่ จนกินอาหารมื้อเย็น  เวลาที่เหลืออยู่นอกนั้นจะหมดไปด้วยการพูดคุย และเล่นการพนัน พวกภรรยาไปไถนา ไปซื้อขายของในเมือง


บทที่เจ็ด การแต่งงานและการหย่าร้าง

            ๑. การระวังรักษาบุตรี  ประเพณีของประเทศนี้ไม่อนุญาตให้หญิงสาว พูดจาพาทีกับชายหนุ่ม ผู้เป็นแม่จะลงโทษ ถ้าจับได้ว่าลูกสาวของตน แอบไปพูดจาวิสาสะกับผู้ชายตามใจชอบ แต่พวกลูกสาวก็มักจะหนีตามผู้ชายไปเมื่อสบช่อง
            ๒. เขาจัดชายหญิงให้แต่งงานกันเมื่ออายุเท่าใด  หญิงชาวสยามมีบุตรได้ตั้งแต่อายุ ๑๒ ปี บางทีก็ก่อนหน้านั้น บางคนอายุ ๔๐ ปีแล้วยังมีลูกได้ จึงเป็นธรรมเนียมที่จะให้ลูกสาวแต่งงานแต่อายุยังน้อยกับชายหนุมอายุใกล้เคียงกัน แต่บางคนก็ไม่ยอมแต่งงานตลอดชีวิต แต่ก็ไม่มีใครยอมบวชเป็นภิกษุณี นอกจากแก่มากแล้วเท่านั้น
            ๓. ชายชาวสยามหาหญิงมาเป็นคู่ครองอย่างไร  พ่อแม่ฝ่ายชายจะจัดหญิงเฒ่าแก่ผู้มีชื่อเสียงดีไปสู่ขอต่อพ่อแม่ฝ่ายหญิง ถ้าพ่อแม่ฝ่ายหญิงพอใจ ก็จะให้คำตอบในทางเอื้อเฟื้อ และยังสงวนท่าทีขอไปสอบถามความยินยอมพร้อมใจของลูกสาวก่อน และจะสอบถามเวลาตกฟากของฝ่ายชาย และให้เวลาตกฟากของฝ่ายหญิงไป ทั้งสองฝ่ายจะนำไปให้หมอดูทำนาย เมื่อเป็นที่พอใจของฝ่ายชายจะไปมาหาสู่ฝ่ายหญิงสามครั้ง เอาหมากพลูผลไม้ไปกำนัล ในการไปหาดังกล่าว พ่อแม่ของทั้งสองฝ่ายจะมาอยู่กันพร้อมหน้า ช่วยกันนับเงินทุนของเจ้าสาวและทรัพย์สินที่จะให้เจ้าบ่าว เจ้าบ่าวกับเจ้าสาวจะได้รับของขวัญ เป็นการรับไหว้จากญาติผู้ใหญ่ของทั้งสองฝ่าย พระสงฆ์ถูกห้ามไม่ให้มาเกี่ยวข้องในการแต่งงาน ต่อจากนั้นอีก ๒ - ๓ วันจึงไปที่เรือนหอเพื่อประพรมน้ำมนต์ และสวดมนต์เป็นภาษาบาลี ๒ - ๓ บท
            ๔. การฉลองแต่งงาน  งานจัดที่บ้านเจ้าสาว เจ้าบ่าวต้องปลูกโรงพิธีขึ้นหลังหนึ่งในบริเวณที่ห่างจากเรือนใหญ่ จากที่นั่นเขาจะนำคู่บ่าวสาว ไปสู่เรือนหอที่ตั้งอยู่โดดเดี่ยว อีกหลังหนึ่งที่เจ้าบ่าวปลูกสร้างขึ้นตั้งอยู่ภายในรั้วไม้ไผ่ในบริเวณบ้านพ่อแม่ของฝ่ายหญิง ทั้งคู่จะอยู่ในเรือนนี้ ๓ - ๔ เดือน แล้วจึงแยกไปปลูกเรือนในที่แห่งใหม่ตามใจชอบต่อไป เครื่องประดับที่บุตรสาวขุนนางใช้สวมศีรษะในพิธีแต่งงานคือรัดเกล้าทองคำ เครื่องุน่งห่อมของเจ้าสาวเป็นผ้านุ่งที่งดงามกว่าธรรมดา มีบางคนบอกว่าก่อนที่จะตกลงแต่งงานต้องเอาตัวลูกเขยมาใช้งานในเรือนของพ่อตาก่อนหกเดือน เพื่อดูอัธยาศัยใจคอ
            ๕. ความมั่งคั่งของการแต่งงาน  เงินทุนอย่างมากที่สุดคือ ๑๐๐ ชั่ง ตกประมาณ ๑๕,๐๐๐ ลัวร์ ปกติสินเดิมของฝ่ายเจ้าบ่าวต้องมีเท่ากับฝ่ายเจ้าสาว
            ๖. การมีภรรยาได้หลายคน  คนมั่งมีเท่านั้นที่จะมีภรรยามากกว่าคนเดียว
            ๗. อันดับแตกต่างระหว่างภรรยาด้วยกัน  ผู้ที่มีภรรยาหลายคน จะมีภรรยาคนหนึ่งที่สำคัญกว่า ภรรยาคนอื่น เรียกว่า เมียหลวง ภรรยาคนอื่น ๆ เรียกว่า เมียน้อย ซึ่งมักเป็นคนที่สามีช่วยไถ่มาเป็นภรรยา ฉะนั้นลูกที่เกิดจากเมียน้อยจึงเรียกพ่อของตนว่า พ่อเจ้า ส่วนลูกของเมียหลวงจะเรียกพ่อของตนว่าพ่อ
            ๘. ลำดับขั้นญาติอันต้องห้ามในการแต่งงาน และพระเจ้าแผ่นดินสยามทุกพระองค์ละเมิดกฎนี้อย่างไร  การแต่งงานกับญาติสนิทชั้นที่หนึ่งเป็นสิ่งต้องงห้าม (ตามกฎหมาย) แต่อาจแต่งงานกับลูกพี่ลูกน้องของตนได้ ชายอาจแต่งงานกับพี่น้องท้องเดียวกันได้โดยแต่งทีละคราว แม้กระนั้นพระเจ้าแผ่นดินสยามทุกพระองค์ก็ทรงล่วงบทบัญญัตินี้ พระเจ้าอยู่หัวองค์วปัจจุบันก็ได้อภิเษกกับพระขนิษฐภคินีของพระองค์
            ๙. กฎหมายว่าด้วยการรับมรดกแม่ม่ายและลูก ๆ  การรับมรดกในครอบครัวเอกชนทั่วไปตกอยู่กับเมียหลวงแล้วก็ถึงลูกเมียน้อยโดยเสมอภาคกัน เมียน้อยและลูกเมียน้อย ผู้เป็นทายาทอาจขาย (เป็นทาส) ไปเสียก็ได้ จะได้อะไรบ้างก็สุดแท้แต่ผู้เป็นทายาทจะแบ่งให้ หรือเท่าที่บิดาผู้ก่อนตายจะหยิบยกให้ด้วยมือ ด้วยชาวสยามไม่รู้จักทำพินัยกรรม
            ๑๐. ทรัพย์สมบัติของชาวสยาม  ประกอบด้วยอสังหาริมทรัพย์ แม้ใครจะมีที่ดินบ้างก็ไม่มากนัก โดยเหตุที่ไม่สามารถมีกรรสิทธิ์ได้อย่างเต็มที่ ด้วยถือว่าแผ่นดินเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน แม้จะทรงขายให้เอกชนไปแล้วจะทรงเรียกกลับคืนเมื่อใดก็ได้ แม้กระนั้นกฎหมายของสยามก็ระบุไว้ว่า ที่ดินนั้นเป็นมรดกตกทอดกันในตระกูล และเอกชนคนหนึ่งอาจขายที่ดินให้เอกชนอีกคนหนึ่งได้ ด้วยเหตุนี้คนทั้งหลายจึงต่างมีอสังหาริมทรัพย์กันน้อยที่สุด และพยายามปกปิดไว้ และโดยที่เพชรเป็นสิ่งที่ซุกซ่อนได้ง่ายขนย้ายได้ง่าย จึงเป็นที่แสวงหาหากันทั่วไปในชมพูทวีป และซื้อขายกันด้วยราคาแพงมาก
            ๑๑. การหย่าร้าง  การอยู่กินของผัวเมียในเมืองสยาม แทบจะราบรื่นทุกครัวเรือน อันพิจารณาได้จากความจงรักภักดีของภรรยาที่หาเลี้ยงสามี ตลอดระยะเวลาที่ต้องถูกเกณฑ์ไปรับราชการงานหลวง ไม่เพียงปีละ หกเดือน แต่บางครั้งนาน ๑ - ๒ ปี หรือ ๓ ปี
            ๑๒. กฎหมายการหย่าร้าง  สามีเป็นตัวสำคัญในการหย่าร้าง แต่เขาจะไม่เคยปฏิเสธเมื่อฝ่ายภรรยาจะขอหย่า เขาจะคืนเงินกองทุนสินเดิมให้นางไป พวกลูก ๆ ก็แบ่งกันไป แม่ได้ลูกคนที่ ๑, ๓, ๕ และต่อ ๆ ไปตามจำนวนคี่ ถ้ามีลูกโทนคนเดียวแม่ก็ได้ไป
            ๑๓. ผลการหย่าร้าง  ทั้งสองจะไปแต่งงานใหม่ได้ ฝ่ายหญิงจะแต่งงานใหม่ได้ในวันที่หย่าร้าง โดยไม่คำนึงถึงข้อสงสัยที่จะเกิดกับลูกคนแรก โดยเชื่อเอาตามคำที่ฝ่ายหญิงบอกเป็นประมาณ
            ๑๔. อำนาจของบิดา  สามีเป็นผู้ทรงอำนาจเด็ดขาดในครอบครัว ถึงขนาดขายลูกเมียได้ ยกเว้นเมียหลวง เขาทำได้เพียงขับไล่เท่านั้น แม่ม่ายได้รับช่วงอำนาจจากสามีของนาง แต่นางไม่อาจขายลูกที่นับเป็นจำนวนคู่ได้ ถ้าญาติพี่น้องข้างพ่อคัดค้าน ภายหลังการหย่าร้างพ่อและแม่อาจขายลูกคนที่ได้รับการแบ่งสันปันส่วน
            ๑๕. ความสัมพันธ์ด้านความรัก  การอยู่กินกันโดยไม่ได้แต่งงาน เป็นสิ่งที่น่าอัปยศ โดยเฉพาะในหมู่ราษฎรสามัญ เมื่อไม่พอใจต่างก็แยกกันไป มีผลเท่ากับการหย่าร้าง หญิงชาวสยาม ไม่อาจทอดตัวให้แก่คนต่างประทศโดยง่าย

บทที่แปด การอบรมของชาวสยาม ข้อแรกคือความสุภาพ

            ๑. ความรักของลูกต่อพ่อแม่  ลูกมีความว่านอนสอนง่ายและอ่อนโยน พ่อแม่ก็รู้จักวางตัวให้เป็นที่รักและเคารพของลูก พ่อแม่ต้องรับผิดร่วมกับลูกในกรณีที่ลูกไปทำความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พ่อแม่ต้องนำตัวลูกส่งต่อเจ้าหน้าที่ด้วย เมื่อรู้ว่าลูกทำการมิชอบ ถ้าลูกหนีไปก็มักจะกลับมามอบตัว เมื่อพระมหากษัตริย์ให้เอาตัวพ่อหรือแม่ หรือญาติผู้ใหญ่ของตนไปลงโทษแทน
            ๒. ความสุภาพเรียบร้อยเป็นสิ่งจำเป็นแก่ชาวสยาม  เขาหลีกเลี่ยงต่อการพูดจาปราศัยกับชาวต่างประเทศ ถ้าเกิดวิวาทกับชาวต่างประเทศ พวกเขาจะเป็นฝ่ายถูกลงโทษ ฉะนั้นชาวสยามจึงฝึกลูกของตน ให้มีความเสงี่ยมเจียมตัวอย่างที่สุด
            ๓. ความรู้สึกโน้มน้าวของชาวสยามในเรื่องสงบปากสงบคำ   แม้แต่ขุนนางผู้ใหญ่ก็ไม่เว้นการสงบปากสงบคำยิ่งไปกว่าคนอื่น ๆ เลย
            ๔. การสัพยอกในหมู่ชาวสยาม  ชาวสยามไม่มีการสัพยอกล้อเลียนกันเลย  ชาวสยามพูดล้อเลียนกัน ระหว่างคนที่มีฐานะเสมอกัน บางทีว่าเป็นคำประพันธ์ด้วยซ้ำไป  ทั้งผู้หญิงและผู้ชายต่างฝึกว่าโต้ตอบกันไปมา เป็นการแข่งฝีปาก
            ๕. ความสุภาพของภาษาสยาม  ภาษาสยามสามารถแสดงออกซึ่งความเคารพและยกย่องได้ดีกว่าภาษาฝรั่งเศส  ศัพท์สำหรับมูลนายพูดกับบ่าวทาส ศัพท์สำหรับบ่าวทาสพูดกับมูลนาย  ศัพท์สำหรับราษฎรสามัญพูดกับเจ้านาย  ศัพท์สำหรับบุคคลที่เสมอกัน ศัพท์สำหรับพระสงฆ์  ในภาษาสยามไม่มีการแบ่งเป็นปุลลึงค์ และอิตถีลึงค์
            ๖. นามของชาวสยาม  ได้ให้ชื่อแก่สรรพสิ่งที่มีค่า  ที่ตระการแห่งธรรมชาติด้วยนามว่า ทองคำ แก้วผลึก ดอกไม้ นางฟ้า เจ้าฟ้า
            ๗. คำที่ชาวสยามใช้เวลาไหว้  คือ ข้าไหว้เจ้า เราไหว้ ข้าไหว้ เมื่อจะถามว่าท่านสบายดีหรือ จะพูดว่าอยู่ ? กินดี ?
            ๘. ชาวสยามได้รับอนุญาตให้ถามพระอาการของพระเจ้าอยู่หัวได้อย่างไร   ไม่อนุญาตให้ชาวสยามคนหนึ่ง ถามอีกคนหนึ่งซึ่งเป็นผู้น้อยกว่าตน ถึงข่าวคราวพระอาการของพระเจ้าอยู่หัว
            ๙. ชาวสยามนั่งอย่างไร  คือ นั่งขัดสมาธิ ไม่นั่งห้อยเท้าบนเก้าอี้
            ๑๐. มารยาทของชาวสยาม  เมื่อล้อมวงกันอยู่ ชาวสยามจะไม่ลุกขึ้นยืนเป็นอันขาด แต่เขาจะไม่นั่งท่าขัดสมาธิ หากจะยอบกายหมอบลงเพื่อให้ความเคารพซึ่งกันและกัน  พวกทาสและพวกบ่าวที่อยู่เบื้องหน้าเจ้าขุนมูลนายของตน  และราษฎรสามัญที่อยู่เบื้องหน้าเจ้านาย จะจรดเข่าลงกับพื้นและนั่งทับส้น ศีรษะโน้มมาข้าหน้าเล็กน้อย และพนมมือยกขึ้นเหนือหน้าผาก  ชาวสยามที่เดินผ่านบุคคลที่จะให้ความเคารพ เขาจะเดินก้มตัวพนมมือสูงต่ำตามควร และไม่แสดงการเคารพเป็นอย่างอื่น
            ๑๑. พิธีไปมาหาสู่  ถ้าบุคคลที่มีฐานะต่ำกว่าผู้มาหา เขาจะเดินก้มตัวเข้าไปในห้อง แล้วยอบกายลงเอาเข่าจรดพื้นทับส้น เขาจะไม่ออกปากพูดจาขึ้นก่อน  ถ้าเป็นการเยี่ยมเยียนผู้ที่มีฐานะเท่าเทียมกัน หรือผู้ใหญ่ไปหาผู้น้อย  เจ้าของบ้านจะต้องออกมารับถึงประตูหน้าเรือน  และเมื่อเสร็จการเยือนแล้ว ก็จะตามออกมาส่งที่นั่นไม่ไกลไปกว่านั้น เขาจะเดินตรงหรือจะเดินก้มหลังค้อม ๆ สุดแต่ขั้นความเคารพที่เจ้าของบ้านจะพึงให้แก่ผู้มาหา  แล้วก็สงวนท่าทีที่จะพูดขึ้นก่อน หรือพูดที่หลังตามธรรมเนียม  แต่เขาจะชี้ที่นั่งให้ผู้มาหา และเชื้อเชิญให้นั่งแล้วนำผลไม้สด ผลไม้กวนมาเลี้ยง บางทีมีข้าวและปลาด้วย  แต่โดยเฉพาะนั้นจะหยิบยื่นหมากพลู และน้ำชา ให้แก่ผู้มาหาด้วยมือของตนเอง  ถ้าเป็นชนชั้นสามัญแล้วก็ไม่ลืมที่จะเลี้ยงเหล้าด้วย เมื่อเสร็จการเยือนแล้ว แขกจะออกปากลาก่อน ดังที่ทำในบ้านเมืองเรา (ฝรั่งเศส)  เจ้าของบ้านก็จะแสดงความยินยอม ด้วยการกล่าวคำไว้อาลัยอย่างอ่อนน้อม
            ๑๒. สถานที่อันมีเกียรติได้รับการเคารพถึงขนาดไหน  สถานที่ใดอยู่ในที่สูงสุด ย่อมได้รับการเคารพอย่างยิ่งไม่มีใครขึ้นไปยังตึกชั้นบน  แม้แต่จะขึ้นไปทำความสะอาด ในขณะที่อัครราชทูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ชุมนุมกันอยู่ ณ ห้องชั้นล่าง ชาวสยามให้ข้อสังเกตว่าภายใต้บันไดนั้นมิพึงใช้เป็นทางเดินเป็นอันขาด ด้วยเกรงว่าจะผ่านลอดใต้เท้าของบุคคลที่กำลังก้าวขึ้นไป  แต่ชาวสยามสร้างเรือนเพียงชั้นเดียว และใต้ถุนก็ไม่ได้ใช้การอะไร ไม่มีใครอยากจะลอดเข้าไป หรือใช้เป็นที่อยู่อาศัยภายใต้เท้าของคนอื่น
            ๑๓. ชาวสยามนับถือว่าเบื้องขวามีศักดิ์ศรีกว่าเบื้องซ้าย  ฝาห้องด้านในตรงข้ามธรณีประตูทางเข้า มีศักดิ์ศรีมากกว่าฝาห้องด้านอื่น ๆ  และฝาอีกสองด้านนั้นก็มีศักดิ์ศรีเหนือด้านที่มีประตู  และผนังหรือฝาห้องเบื้องขวามือของผู้ที่นั่งหันหลังให้แก่ฝาด้านใน ก็มีศักดิ์ศรีเหนือกว่าผนัง หรือฝาห้องที่อยู่ทางด้านซ้ายมือ ถ้าใครคนหนึ่งได้รับการเยี่ยมของบุคคลสำคัญ เขาจะเชิญบุลคลผู้นั้นให้นั่งตรงกลางผนัง หรือฝาด้านในของห้องโดดเดี่ยว แต่ผู้เดียว และตัวเจ้าของบ้านก็จะนั่งหันหลังให้ประตู หรือฝาห้องด้านข้างด้านใด้ด้านหนึ่ง
            ๑๔. เหตุใดบ้านเมืองทั้งหลายในเมืองจีนจึงเป็นแบบเดียวกันหมด
            ๑๕. ชาวสยามก็มีพิธีรีตองอย่างนี้เป็นเป็นแบบเดียวกัน  ถ้าที่ไหนมีชาวสยามนั่งชุมนุมกันอยู่หลายคน หากมีอีกผู้หนึ่งเข้าร่วมวงด้วย บ่อยครั้งอิริยาบถของคนในกลุ่มจะเปลี่ยนไป พวกเขารู้ดีว่าต่อหน้าบุคคลชั้นใด และขนาดไหนที่เขาจะพึงหมอบก้มหน้า เงยหน้า หรือนั่งวางท่าอย่างสง่าผ่าเผย และควรจะพนมมือหรือไม่เพียงใด การนั่งนั้นจะพึงเหยียดขาได้ข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง หรือว่าจะต้องซ่อนขาทั้งสองข้างด้วยการนั่งทับส้นเท้า ความผิดอันเกิดจากกระบวนหน้าที่คารวะอย่างนี้ อาจได้รับโทษถูกโบยด้วยหวาย
            ๑๖. ชาวสยามคุ้นเคยกับธรรมเนียมเหล่านี้มาแต่เยาว์
            ๑๗. ผู้ใหญ่มีทางให้ผู้น้อยเว้นการปฎิบัติตามธรรมเนียมได้อย่างไร  เมื่อผู้ใหญ่ไม่ประสงค์จะให้ผู้น้อยลำบาก และให้ความยกย่องแก่ผู้น้อยมายิ่งขึ้น ผู้ใหญ่จึงพยายามเว้นการพบปะกันกับผู้น้อยในที่สาธาณะ  เพื่อมิให้ผู้น้อยต้องแสดงความอ่อนน้อมแก่ตนต่อหน้าธารกำนัล  การแสดงความเมตตาอารีต่อผู้น้อย หรือการยินยอมให้ผู้น้อยเข้าถึงตัวได้ง่าย ๆ  หรือการออกมาต้อนรับขับสู้ผู้น้อยนั้น ในประเทศอินเดียถือว่าเป็นความอ่อนแออย่างยิ่ง
            ๑๘. สิ่งที่ไม่สุภาพบางประการในหมู่พวกเรา (ฝรั่งเศส)  กลับไม่เป็นสิ่งที่ไม่สุภาพในหมู่พวกเขา (สยาม)   ชาวสยามมิได้บังคับตัวไว้มิให้เรอออกมาเลย ในขณะกำลังสนทนากันอยู่ และไม่ถือว่าเป็นการผิดมรรยาทในการกวาดเม็ดเหงื่อ หรือที่หน้าผากด้วยนิ้วมือแล้วสะบัดลงดิน  ส่วนพวกเราใช้ผ้าเช็ดหน้า ชาวสยามน้อยคนนักที่มีผ้าเช็ดหน้าใช้ เขาไม่กล้าถ่มน้ำลายลงกับเสื่อหรือพรมปูพื้น  จึงมักใช้วิธีบ้วนลงในกระโถนซึ่งถืออยู่ในมือ ถ้าเป็นในพระราชมณเฑียร เขาไม่กล้าไอ ขาก หรือสั่งน้ำมูก หมากที่เขาเคี้ยวอยู่เป็นประจำ และกลืนน้ำหมากเสียได้ ในยามที่ต้องการ อนึ่ง เขาหยิบคำหมากขึ้นมาเคี้ยวใหม่ต่อหน้าพระที่นั่งหาได้ไม่
            ๑๙. อะไรคือสิ่งที่ชาวสยามถือว่าเป็นการสบประมาท  ศีรษะเป็นส่วนสูงที่สุดของร่างกาย ก็ถือกันเป็นอย่างยิ่ง การถูกต้องผู้ใดที่ศีรษะหรือผม หรือเอื้อมมือข้ามศีรษะถือว่าเป็นการดูหมิ่นอย่างยิ่ง การถูกต้องลอมพอกที่เขาถอดวางไว้ ถือว่าเป็นการผิดมารยาทอย่างยิ่งเหมือนกัน
            ๒๐. ท่าทางอย่างไหนเป็นการแสดงความเคารพมากน้อยกว่ากัน  ท่าที่แสดงความเคารพที่สุด หรืออ่อนน้อมที่สุดคือ ขณะเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวของตน ชาวสยามหมอบราบอยู่ด้วยเข่าและศอก พนมมือสูงเสมอหน้าผาก ทอดน้ำหนักตัวไว้บนส้นเท้า จะต้องถวายบังคมสามครั้งติดต่อกัน
            ไม่แต่การนั่งในที่สูง จะเป็นการแสดงศักดิ์ศรีกว่าการนั่งในที่ต่ำเท่านั้น  การยืนยังเป็นการแสดงศักดิ์ศรีมากกว่าการนั่ง เมื่อ มร.เดอ โชมองต์ เข้าเฝ้าครั้งแรก จำเป็นต้องให้พวกขุนนางผู้ดีชาวฝรั่งเศสซึ่งติดตามคณะฑูตไปด้วย เข้าไปนั่งในท้องพระโรงก่อน แล้วจัดให้ลงนั่งทับส้นก่อนที่พรเจ้ากรุงสยามจะเสด็จออก และมีการห้ามไว้ไม่ให้ลุกยืน เพื่อถวายคำนับในขณะเสด็จออก  พระเจ้าอยู่หัวองค์นี้ไม่เคยลดราให้สังฆราช หรือบาทหลวงคณะเยซูอิดคนใดเข้าเฝ้า เฉพาะพระพักตร์ในท้องพระโรงเลย และภายในพระราชมณเฑียรก็ไม่โปรดให้ลุกขึ้นยืน ณ ที่ใด นอกจากเวลาเดินเท่านั้น  แต่ในการเดินทุกครั้ง เมื่อ ค.ศ.๑๖๘๗  เมื่อคณะฑูตผู้มีอำนาจเต็มเข้าเฝ้าครั้งแรก และพวกขุนนางผู้ดีชาวฝรั่งเศส ได้รับเกียรติให้เข้าไปในท้องพระโรง ขณะที่พระเจ้ากรุงสยามเสด็จออกขุนขางแล้วนั้น  ก็เนื่องจากว่าขุนนางที่ติดตามคณะอัครราชทูตสยามไปยังฝรั่งเศสในครั้งกระโน้น  เข้าไปในพระที่นั่งพระราชวังแวร์ซายส์ ในขณะที่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ได้ประทับบนพระราชอาสน์
            ๒๑. พระเจ้ากรุงสยามทรงถ่ายแบบพระราชพิธีในราชสำนักของพระองค์จากราชสำนักฝรั่งเศสอย่างไร พระเจ้ากรุงสยามได้โปรดถวายความเคารพแต่พระเจ้ากรุงฝรั่งเศส โดยทรงขอให้ มร.เดอ โชมองต์ กราบทูลให้ทรงทราบว่า หากแม้มีขนบธรรมเนียมใดในราชสำนักของพระองค์ ไม่มีในราชสำนักฝรั่งเศสแล้ว พระองค์ก็จะได้โปรดเกล้า ฯ ให้จัดเปลี่ยนแปลง และเมื่อคณอัครราชทูตผู้มีอำนาจเต็มของพระเจ้าอยู่หัว เดินทางไปถึงประเทศนั้น (สยาม) แล้ว พระเจ้ากรุงสยามจึงโปรดเกล้า ฯ ให้จัดการรับรองแปลกเปลี่ยนไปหลายประการ จากที่เคยพระราชทานเกียรติยศแก่ มร.เดอ โชมองต์ เมื่อครั้งกระนั้นเพื่อให้ละม้ายเหมือนกับที่ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสพระราชทานเกียรติยศต้อนรับคณะฑูตสยาม อนึ่งพระเจ้ากรุงสยามได้ทรงกระทำการแปลอย่างหนึ่ง เมื่อ มร.แดร์ ฟาจส์ เข้าเฝ้าอันไม่เคยมีตัวอย่างในกรุงสยามมาก่อน คือพระองค์ทรงโปรดให้ขุนนางทั้งปวงในราชสำนักของพระองค์ลุกขึ้น ยืนเฝ้าต่อหน้าพระที่นั่ง ดังที่ มร.แดร์ ฟาจส์ และคณะนายทหารฝรั่งเศสที่ติดตามมาได้ยืนเฝ้าอยู่
            ๒๒. เหตุใดข้าพเจ้าพอใจที่จะยืนกราบทูลพระเจ้ากรุงสยามมากกว่านั่ง  มร.เดอ โชมองต์  ได้เคยกราบทูลขอร้องที่จะนั่งกราบทูล แต่พระองค์ได้ทรงทราบว่า คณะฑูต (สยาม)  ได้ยืนเฝ้าและยืนกราบทูลพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส พระองค์จึงทรงอนุญาตให้ข้าพเจ้ายืน หรือนั่งก็ได้ตามพอใจ ข้าพเจ้าจึงเลือกเอาข้างยืน
            ๒๓. ความมีมรรยาทอย่างอื่นของชาวสยาม  การทูนไว้บนศีรษะ ในของที่มีผู้ให้ หรือที่ตนได้รับ ถือกันว่าเป็นการแสดงความเคารพอย่างสูงสุด พระเจ้ากรุงสยามเอง ก็ทรงเคยรับพระราชสาสน์ของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศส ซึ่ง มร.เดอ โชมองต์ นำขึ้นทูลเกล้าถวายจบขึ้นไปเหนือพระนลาต แต่ครั้งได้ทรงทราบจากคณะของคณะฑูตสยามว่า มรรยาทอย่างนี้มิได้กระทำในราชสำนักฝรั่งเศส มาในครั้งนี้พระองค์จึงได้ทรงละเว้นเสีย
            ๒๔. ท่าทางที่ชาวสยามแสดงความเคารพต่อกัน   เขาพนมมือทั้งสองข้าง หรืออย่างน้อยที่สุดมือขวา แต่เพียงข้างเดียว ยกขึ้นเสมอหน้าผาก ทุกครั้งที่กล่าวคำกราบบังคมทูลต่อพระเจ้าอยู่หัว ก็จะเริ่มด้วยคำเหล่านี้ก่อนเสมอ "พระพุทธเจ้าข้า ขอรับพระราชโองการใส่เกล้าใส่กระหม่อม"
            ถ้าท่านยื่นมือ (ข้างเดียว)  ไปให้ชาวสยามสัมผัส เขาจะกุมมือข้างนั้นของท่านไว้ ด้วยมือของเขาทั้งสองข้าง การยื่นมือไปแต่ข้างเดียวนั้น ชาวสยามถือว่าผิดมรรยาทอย่างเอก ทำนองเดียวกับที่มิได้รับสิ่งของ ที่เขาหยิบยื่นให้ประคองไว้ในมือ ทั้งสองข้าง หรือมิได้รับสิ่งของที่ท่านส่งให้ด้วยมือทั้งสองข้าง

บทที่เก้า การศึกษาของชาวสยาม

            ๑. ชาวสยามส่งลูกให้ไปอยู่กับพระสงฆ์  เมื่องลูกอายุ ๗ - ๘ ขวบ  ชาวสยามจะส่งให้ไปอยู่วัดกับพระสงฆ์ และให้บวชนุ่งเหลืองห่มเหลือง  จะสึกออกมาเมื่อใดก็ได้ เรียกว่า เณร
            ๒. เรียนอะไรกันบ้าง  พระสงฆ์จะสอนอนุชนเหล่านี้ให้รู้จักอ่าน เขียน และนับจำนวนเป็นสำคัญ ด้วยว่าไม่มีสิ่งใดจะจำเป็นแก่พ่อค้า และชาวสยามยิ่งไปกว่าการค้าขาย  ทั้งสอนศีลธรรมและชาดก แต่ไม่มีการสอนพงศาวดาร กฎหมาย หรือศาสตร์อื่น ๆ ด้วย  นอกจากนั้นยังให้ศึกษาภาษาบาลี อันเป็นภาษาของศาสนา แต่มีคนสยามน้อยคนนักที่จะรู้ภาษาบาลีอย่างแตกฉาน
            ๓. ภาษาบาลีและภาษาสยามเทียบกับภาษาจีน  ตัวหนังสือสยาม และบาลีมีอักษรน้อยตัวเหมือนตัวหนังสือของเรา นำเอามาผสมเป็นพยางค์ และเป็นคำ ภาษาสยามส่วนมากเป็นคำโดด  จะต้องสำเหนียกเสียงแตกต่างกันให้แม่นยำ จึงจะเข้าใจความหมายได้ถนัด
            ๔. ภาษาสยามกับภาษาจีนไม่มีวิภัตติเหมือนภาษาบาลี  คือไม่มีการผันคำ ไม่มีการแจกกริยา และอาจไม่มีรากศัพท์ด้วย ชาวสยามมีกริยานุเคราะห์อยู่ ๔ - ๕ ตัว  บางทีก็ตั้งไว้หน้ากริยา บางทีก็เติมไว้ท้ายกริยา เพื่อบอกพจน์ กาลและมาลา
            ๕. ภาษาสยามมีศัพท์น้อยแต่มากไปด้วยอุปมาอุปไมย
            ๖.  การคิดเลข  ตัวเลขสยามมี ๑๐ ตัว เหมือนของเรา  การเรียงลำดับก็อย่างเดียวกัน จากซ้ายมาขวา จากหลักหน่วย หลักสิบ หลักร้อย หลักพัน และหลักอื่น ๆ ที่เพิ่มด้วยกกำลังคูณด้วยสิบ
            ๗. เครื่องมืองที่ชาวจีนใช้เป็นคะแนนในการคิดเลข  ชาวสยามมักคำนวณเลขด้วยปากกา แต่ชาวจีนใช้เครื่องมือชนิดหนึ่งทำนองเบี้ยคะแนน (ลูกคิด)  ซึ่งมีผู้คิดทำขึ้นระหว่าง ๒๖๐๐ - ๒๗๐๐  ปี ก่อนคริสตศักราช
            ๘. ชาวสยามไม่เหมาะที่จะเรียนวิชาอย่างคร่ำเคร่ง  วิชาต่าง ๆ ที่สอนกันในวิทยาลัยของเรานั้น เกือบจะไม่เป็นที่รู้จักกันในชาวสยาม
            ๙. ชาวสยามเป็นมีสติปัญญา เสียแต่ว่าเกียจคร้าน  ชาวสยามพิเคราะห์อะไรรู้ง่าย และแจ่มแจ้ง แทงตลอด กรเจรจาโต้ตอบก็เฉียบแหลมว่องไว ข้อคัดค้านของเขาก็มีเหตุผลถูกต้อง ในชั้นแรกก็๋พยายามเลียนแบบไปก่อน อีกไม่กี่วันก็เป็นคนงานที่มีฝีมือพอใช้ได้  เชื่อว่าถ้าได้ศึกษาสักหน่อยแล้ว ก็จะเป็นผู้เก่งกาจได้ ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาวิทยาการชั้นสูง หรือศิลปวิทยาที่ยากเพียงใด  แต่ความเกียจคร้านได้ทำลายความหวังเสียหมด จึงไม่แปลกใจว่าเขามิได้ประดิษฐ์ คิดค้นอะไรขึ้นมาได้เลย
            ๑๐. ชาวสยามเป็นกวีโดยกำเนิดและบทกลอนของเขามีสัมผัสคล้องจองกันดีมาก
            ๑๑. อัจฉริยลักษณ์ของชาวสยามในการกวี  นอกจากเพลงที่กล่าวถึงความรักแล้ว ก็มีเพลงที่กล่าวถึงเรื่องราวตามพงศาวดาร และเป็นธรรมภาษิตผสมผสานกันไป เพลงเห่เรือ ส่วนเพลงละคร ล้วนเป็นเพลงอบรมศีลธรรม และกล่าวความเกี่ยวกับพงศาวดาร
            ๑๒. ชาวสยามไม่นิยมเป็นนักพูดกันเลย  แม้ชาวสยามจะเกิดมาเป็นกวี  แต่มิได้เกิดมาเป็นนักพูด และไม่มีวันจะเป็นได้  หนังสือที่ชาวสยามแต่ง ถ้าไม่เป็นการบรรยายเรื่องตามแบบง่าย ๆ  แล้วก็เป็นคติพจน์ แบบห้วน ๆ ประกอบภาพมากหลาย ชาวสยามไม่มีทนายความ โจทก์จำเลย ต่างให้การไว้ต่อเสมียนศาล ตุลาการ เสมียนก็ทำบันทึกคำให้การไป เมื่อพระสงฆ์แสดงพระธรรมเทศนาก็อ่านคำบาลีตามพระคัมภีร์ แล้วก็แปลและอธิบายให้เข้าใจเป็นภาษาง่าย ๆ  ไม่มีการเคลื่อนไหวอิริยาบท
            ๑๓. คำทักทายปราศรัยซ้ำ ๆ กันอยู่เสมอ  ชาวสยามรู้จักที่จะพูดจากปรองดองกิจการ และได้ผลสำเร็จด้วยชั้นเชิงเป็นอันมาก  แต่สำหรับคำโอภาปราศรัยแล้ว เขาทำเป็นแบบเดียวกันทั้งนั้น  ซึ่งนับว่าไพเราะมาก พระเจ้ากรุงสยามก็ทรงมีพระราชปฎิสันถารอันแทบว่า จะท่องได้ในพระราชพิธีเสด็จออกแขกเมืองทุกครั้ง
            ๑๔.  คำปราศรัยครั้งสุดท้ายของอัครราชฑูตสยามในฝรั่งเศส  ข้าพเจ้าไม่ลืมสุนทรพจน์อันไพเราะที่อัครราชฑูตสยามได้กราบบังคลทูลแด่ พระเจ้ากรุงฝรั่งเศสในวันที่เฝ้าถวายบังคลลา สุนทรพจน์นั้นชิ้นเดียวก็ทำให้เราเชื่อว่า คนสยามเป็นนักพูดที่ดี
            ๑๕. ชาวสยามมีธรรมปรัชญาแต่ไม่มีเทววิทยา  ชาวสยามไม่ประสาในปรัชญาแนวต่าง ๆ ยกเว้นหัวข้อะรรมจริยาบางข้อ
            ๑๖. ชาวสยามศึกษากฎหมายกันอย่างไร  ชาวสยามไม่มีสถาาบันศึกษาวิชานิติศาสตร์ เขาศึกษากฎหมายของบ้านเมือง ก็เพื่อเข้ารับราชการฝ่ายตุลาการเท่านั้น มิใช่เป็นการสาธารณะ เพราะไม่มีโรงพิมพ์

บทที่สิบ สิ่งที่ชาวสยามรู้เกี่ยวกับวิชาแพทย์ และวิชาเคมี

            ๑. พระเจ้ากรุงสยามทรงใช้แพทย์หลวงจากประเทศต่าง ๆ   ส่วนมากเป็นชาวจีน มีชาวสยามและชาวพะโค อยู่บ้าง และใน ๒ - ๓ ปีมานี้ พระองค์ได้ทรงรับครูสอนศาสนาคริสตัง ฝ่ายคฤหัสถ์ชาวฝรั่งเศสไว้เป็นแพทย์หลวง
            ๒. ชาวสยามไม่รู้จักศัลยกรรม และกายวิภาคศาสตร์เลย  จำเป็นต้องพึ่งหมอชาวยุโรป
            ๓. หมอสยามไม่มีหลักในการปรุงยา ได้แต่ปรุงไปตามตำราเท่านั้น  หมอสยามไม่พยายามศึกษาสรรพคุณยา แต่ละชนิด นอกจากจะถือเอาตามตำราที่ปู่ยาตายาย สอนต่อ ๆ กันมา  โดยไม่มีการปรับปรุงอะไร
            ๔. หมอจีนมักเป็นหมอกำมะลอปลิ้นปล้อนเสียโดยมาก
            ๕. ความแตกต่างระหว่างหมอเถื่อนชาวจีนกับชาวเรา  ชาวจีนมักรักษาคนไข้ด้วยอุบายอันสุขุม และค่อยปลุกน้ำใจให้แช่มชื่นอยู่เป็นพื้น  ส่วนหมอชาวยุโรปจะให้คนไข้กินยาต่าง ๆ
            ๖. ในกรุงสยามรักษาไข้กันอย่างไร  ถ้าใครป่วยก็จะเริ่มรักษาด้วยการทำให้เส้นสายยืด โดยให้ผู้ที่ชำนาญในเรื่องนี้ขึ้นไปบนร่างกายของคนไข้ แล้วใช้เท้าเหยียบ ๆ ปัจจุบันชาวสยามใช้วิธีแทงเอาเลือดออก ๆ บางทีก็ใช้วิธีใช้ปลิงดูดเอา  เขามียาระบาย รู้คุณค่าของการทำให้เหงื่อออก  นิยมใช้วิธีเข้าประโจมให้เหงื่อออก
            ยาแก้ไข้ปรุงจากแร่และสมุนไพร หมอชาวยุโรปแนะนำให้เขารู้จักใช้ยาควินนิน ยาของสยามล้วนแต่ร้อนไปเสียทั้งนั้น เขาใช้วิธีอาบน้ำ เมื่อเวลาไข้จับ
            ๗. อาหารคนไข้  กินแต่ข้าวต้มอย่างเดียว  และต้มให้เละมาก ๆ ส่วนน้ำต้มเนื้อนั้นถือว่าเป็นของแสลง เพราะทำให้ท้องอืด  เมื่อคนไข้พอจะกินอาหารหนักได้ ก็จะให้กินเนื้อหมูซึ่งไม่ค่อยแสลง ดีกว่าเนื้อสัตว์อื่น
            ๘. ความเขลาของชาวสยามในวิชาเคมี และนิทานในเรื่องนี้  สมเด็จพระชนกของพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบัน ทรงใช้พระราชทรัพย์ถึงสองล้าน ในการแสวงหาหินวิเศษที่ใช้ซัดโลหะให้เป็นทองคำ

บทที่สิบเอ็ด ชาวสยามรู้วิชาคำนวณเพียงใด

            ๑. ความร้อนจัดในเมืองสยามขัดกับการใช้สติปัญญาอย่างขมักเขม้น  สติปัญญาอันฉับไวของชาวสยาม น่าจะเหมาะมากในการเรียนวิชาคำนวน ยิ่งกว่าศาสตร์ชนิดอื่น ๆ ถ้าเขาไม่เบื่อเร็วนัก

            ๒. ความเขลาของชาวสยามเกี่ยวกับหลักที่สำคัญ ๆ ของวิชาคำนวณ  ชาวสยามไม่มีความรู้ในวิชาเรขาคณิตเลย  และไม่รู้ในวิชากลศาสตร์ วิชาดาราศาสตร์ ก็ใช้ในเชิงพยากรณ์ได้เท่านั้น
            ๓. ปฎิทินสยาม และเหตุใดจึงมีสองอย่าง  เมื่อได้ตั้งโยคเกณฑ์ขึ้นโดยตัวเลขจำนวนหนึ่งแล้ว  ก็ใช้วิธีบวกลบคูณหาร เพื่อคำนวณว่า ในปีต่อไปดาวเคราะห์จะสถิตอยู่ ณ ราศีใด  ซึ่งเกือบจะใกล้เคียงกับที่เราตรวจหาจำนวนวัน  ทางสุริยคติของแต่ละปี โดยการบวกเกณฑ์ ๑๑ เข้ากับจำนวนวันทางจันทรคติของปีก่อน
            ๔.  ศักราชใหม่ที่ตั้งขึ้นน่าจะตั้งขึ้นตามอำเภอใจ  ศักราชใหม่ในสองศักราชของสยามที่ตั้งขึ้น ตรงกับคริสศักราช ๖๓๘
            ๕.  ศักราชเก่าก็น่าจะตั้งขึ้นตามอำเภอใจอีกเช่นกัน  ศักราชเก่าของสยามมาถึงบัดนี้ (ค.ศ.๑๖๘๙)  นับได้ ๒๒๓๓ ปีมาแล้ว
            ๖.  มิใช่จำเดิมแต่วันดับขันธปรินิพพานของพระสมณโคดม  บันทึกประวัติศาสตร์ของสยามนับย้อนต้นขึ้นไป ๙๐๐ ปี หรือประมาณนั้นเท่านั้น ไม่ใช่ ๕๔๕ ปี ก่อนพระเยซูคริสต์เกิด ชาวสยามจะกล่าวอย่างเผิน ๆ ว่า ศักราชเดิมของเขาซึ่งนับถึงปัจจุบันได้ ๒๒๓๐ ปีแล้ว  เริ่มแต่วันดับขันธปรินิพพานขององค์พระสมณโคดม
            ๗. วิธีใช้ศุภมาสด้วยประการต่าง ๆ  มาตรว่า ชาวสยามยังคงใช้ศักราชเก่า (พุทธศักราช)  เป็นศุภมาสของตนอยู่อีก หลังจากที่ได้ทอดทิ้งไปเนื่องจากการคำนวณทางดาราศาสตร์ แต่เดือนแรกของเขาก็คงเป็นไปตามจัทรคติ  ตกอยู่ในเดือนพฤศจิกายน หรือเดือนธันวาคม (เดือนอ้าย)  อย่างเดิม เดือนแรกของปีตามศักราชใหม่ ก็ตกอยู่ในเดือนห้า หรือเดือนหก (เมษายน)  ตามแบบเก่า
            ๘. ชาวสยามรู้สึกอย่างใด ในเรื่องพิภพ  ชาวสยามไม่ประสาเลยกับระบบของพิภพอันถูกต้อง เขาจึงมีความเชื่อโดยทำนองเดียวกับชาวตะวันออกทั่วไปว่า สุริยคราสและจันทคราส นั้นเป็นไปด้วยฤทธิ์ของนาคราช กลืนดวงตะวันและดวงเดือนเข้าไป  เขาจะทำเสียงอึกทึกครึกโครม ด้วยการตีเตาเหล็ก และหม้อเหล็ก ดังเซ็งแซ่ เพื่อให้สัตว์ร้ายตกใจกลัวและหนีไป  ช่วยให้ดวงตะวัน และดวงเดือนพ้นภัยไปด้วย
            ชาวสยามเชื่อว่า พิภพของเรานั้น เป็นรูปสี่เหลี้ยมจัตุรัส กว้างใหญ่ไพศาลมาก โค้งเพดานฟ้าจรดสี่มุมโลกคล้ายครอบแก้ว แบ่งออกเป็นสี่ภาค (ทวีป)  ท่ามกลางทวีปทั้งสี่ มีมหาบรรพตเป็นรูปปรางค์ ตั้งอยู่ทั้งสี่ด้านเท่ากัน เรียกว่า เขาพระสุเมรุ พื้นพิภพหรือพื้นทะเลขึ้นไปถึงยอดเขานั้น สูงระฟ้า ถึงดาว สูง ๘๔,๐๐๐ วา จากผิวน้ำทะเลลึกลงไปถึงพื้น จากเขาพระสุเมรุมีความลึกเท่ากับความสูง จากฟากเขาพระสุเมรุทั้งสี่ด้านมีความกว้างด้านละ ๘๔,๐๐๐ โยชน์ พิภพที่เรียกว่าชมพู ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของเขาพระสุเมรุ ดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ และดวงดาวทั้งหลายหมุนรอบพิภพนี้ เกิดเป็นกลางวัน และกลางคืน  เหนือยอดเขาพระสุเมรุเป็นสวรรค์ชั้นฟ้า เรียกว่า อินทราธิราช  เหนือขึ้นไปเป็นสวรรค์ของพวกเทวดา
            ๙. ชาวอินเดียเชื่อความขลังเท่า ๆ กับความเขลา   ชาวสยามเชื่อว่ายังมีศาสตร์แห่งการพยากรณ์เชื่อว่า  อาถรรพณเวท เสกเป่าให้คนไข้หายจากโรคภัยไข้เจ็บได้  และเมื่อโหรหลวงของพระเจ้ากรุงสยามทำนายเหตุการณ์ผิดพลาด ก็จะให้ลงอาญาโบย ทำนองเดียวกันก็จะให้ลงอาญาโบยหมอหลวง ถ้าพระโอสถที่ปรุงถวายไม่เกิดสรรพคุณแก่พระประชวร
            ๑๐. อำนาจของหมอดูเหนือชาวสยาม  พระเจ้าอยู่หัวจะไม่เสด็จไปไหนจนกว่าจะได้ศุภฤกษ์ ซึ่งโหราจารย์ซึ่งเป็นพราหมณ์ หรือชาวพะโค จะได้คำนวณและกำหนดโมงยามฤกษ์ผานาทีถวายแล้ว  พระองค์จะไม่เสด็จออกจากราชมณเฑียร หรือว่าได้เสด็จออกไปแล้ว จะยังไม่เสด็จกลับคืน ถ้าโหราจารย์กราบทูลทักท้วงไว้ วันอาทิตย์ดูจะเป็นวันที่มีโชคดีกว่าวันอื่น ๆ  และเชื่อว่าวันข้างขึ้นเป็นหมู่วันที่มีฤกษ์ดีกว่าวันข้างแรม  นอกจากนี้ยังมีปฎิทินที่โปรดเกล้า ฯ ให้โหราจารย์ผู้หนึ่งทำขึ้นไว้เป็นประจำทุกปี  ก็มีคำกำหนดสำหรับกราบถวายบังคมทูล และประกาศแก่ไพร่ฟ้าข้าแผ่นดิน ให้รู้ว่าวันใดเป็นวันดี และไม่ดีสำหรับประกอบกิจการสามัญทั่วไป
            ๑๑.  ทำนายลาง   ชาวสยามถือว่าเสียงเห่าหอน หรือเสียงคำรามของพาลมฤค เสียงร้องอันโหยหวนของเนื้อ ละมั่ง กวาง ทราย และลิง ค่าง บ่าง ชะนี ว่าเป็นลางร้าย งูที่เลื้อยผ่านตัดทางเดิน สายฟ้าที่ผ่าบ้านเรือน สิ่งใดสิ่งหนึ่งตกลงมาโดยไม่มีสาเหตุ ถือว่าเป็นลางที่น่าหวั่นเกรง เป็นเหตุให้เลิกงดการงาน หรือจะเริ่มทำกิจการใดต่อไปอีก
            ๑๒. ชาวอินเดียหาว่าเป็นพ่อมด และเพราะอะไร
            ๑๓. ความเชื่อทางไสยศาสตร์ขณะหญิงคลอดบุตร   ชาวสยามจะให้หญิงแม่ลูกอ่อน อยู่ไฟนานหนึ่งเดือน มีกองไฟติดอยู่เสมอ และกองค่อนข้างใหญ่  คอยให้กลับตัวผิดตลอดเวลา
            ๑๔. ยาเสน่ห์เป็นผลของมายาศาสตร์
            ๑๕. อาการใดที่ดูจะเป็นผลของมายาศาสตร์  ชาวสยามเป็นโรคหลายชนิดที่อาการแปลก เชื่อกันว่าเนื่องจากถูกเวทย์มนตร์คุณไสย
            ๑๖. การถือผีถือลางหรือการอวดอ้างเกี่ยวกับกำแพงเมือง  วันหนึ่งคณะฑูตของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสได้รับการเยี่ยมคำนับจากคณะฑูตจากเมืองปัตตานี  เมืองกัมพูชา และจากราชสำนักประเทศข้างเคียง กับผู้แทนของชาวชาติต่าง ๆ ที่อยู่ในเมืองสยาม



บทที่สิบสอง การดนตรี และการกรีฑา




            ๑. ชาวสยามไม่มีศิลปในการขับร้องเลย  วิชาดนตรีไม่ค่อยเป็นที่เข้าใจในเมืองสยาม อย่างเช่นวิชาเรขาคณิต และวิชาดาราศาสตร์ เขาสร้างบทเพลงขึ้นด้วยปัญญาอันเฉียบแหลม แต่ไม่รู้จักวิธีสร้างโน๊ตเก็บเสียง ตามมาตราเพลงไว้ ไม่มีจังหวะจะโคนไม่มีเสียงลงลูกคอ แต่บางครั้งก็ร้องเอื้อนโดยไม่มีเนื้อเพลงเหมือนอย่างเราอยู่บ้างเหมือนกัน  เพลงร้องของชาวสยามไม่มีที่มีเสียงทุ้มมาก ๆ  ล้วนแต่มีเสียงค่อนข้างสูง
            ๒. ไม่มีการแยกเล่นแต่ลำพังในวงดนตรี  ชาวสยามเช่นเดียวกับชาวจีน คือไม่รู้จักแยกเล่นเครื่องดนตรีชนิดต่าง ๆ ในวงและไม่รู้จักการขับร้องประสานเสียง ซึ่งแต่ร้องไปพร้อม ๆ กันเท่านั้น
            ๓. เครื่องดนตรี ซอสามสาย ปี่ ฆ้อง  ชาวสยามมีเครื่องดนตรีฝีมือหยาบ ๆ เหมือนไวโอลินสามสาย เรียกว่า ซอ  กับเครื่องเป่าเสียงแหลม เรียกว่า ปี่ เล่นควบไปกับฆ้อง ทำด้วยทองแดง มีผู้เล่นคนหนึ่งใช้ไม้สั้น ๆ ตีไปตามจังหวะ ฆ้องนี้ผูกเชือกแขวนไว้ แต่ละใบมีคานสอดพาดอยู่บนขาตั้งสองด้าน ใบหนึ่งเรียกว่า โฉ่ง ฉ่าง อีกใบหนึ่งบางหว่า กว้างกว่า เสียงทุ้มกว่า เรียกว่า ฆ้อง
            ๔. ตะลุงปุงปัง  ในวงดนตรีมีกลองอีกสองชนิด คือ ตะลุงปุงปัง และตะโพน ไม้ที่ทำตะลุงปุงปัง มีขนาดกลองรำมะนา แต่ขึงหนังทั้งสองหน้สเหมือนกลองจริง ๆ และสองข้างตัวไม้มีลูกตุ้มตะกั่วผูกเชือกติดอยู่ มีคานไม้เสียบเป็นคันถือ คนเล่นหมุนคันไม้กลับไปมา ลูกตุ้มก็จะแกว่งไปกระทบ หน้ากลองทั้งสองด้าน
            ๕. ตะโพน  รูปร่างเหมือนถังไม้ (ที่ใช้หมักเหล้า)  มีเชือกผูกโยงแขวนคอไพล่มาไว้ข้างหน้าผู้เล่น แล้วใช้กำปั้นทุบหน้ากลองทั้งสองหน้า
            ๖.  เครื่องดนตรีประกอบด้วย ลูกฆ้อง  เรียกว่า พาทย์ฆ้อง ลูกฆ้องผูกไว้ต่อๆ กันกับไม้สั้น ๆ ติดตั้งในทางราบ อยู่บนขอบไม้รูปครึ่งวงกลม ผู้เล่นนั่งขัดสมาธิอยู่ตรงกลาง แล้วตีลูกฆ้องด้วยไม้สองอันด้วยมือทั้งสอง ดูเหมือนว่าเครื่องดนตรีชนิดนี้มีเพียงห้าเสียง ระดับเสียงเป็นคู่กันไป
            ๗. เครื่องประโคมโดยเสด็จ ฯ  เพลงเดินที่ใช้ประโคมเมื่อคณะฑูต (ฝรั่งเศส)  เข้าไปในพระราชวังนั้น เป็นเสียงของเครื่องดนตรีดังกล่าว บรรเลงขึ้นพร้อมกัน แม้แปลกหูแต่น่าฟัง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเสียงที่ก้องไปในแม่น้ำ
            ๘. การร้องขับประกอบดนตรี   บางทีก็ใช้ไม้สองชิ้นสั้น ๆ  เรียกว่า กรับ ขยับให้กระทบกันไปพร้อม ๆ กับขับร้องเพลง ผู้ร้องเพลงเรียกว่า ช่างขับ  พวกราษฎรพอใจขับร้องเล่นในตอนเย็น ตามลานบ้าน พร้อมด้วยกลองชนิดหนึ่งเรียกว่าโทน  เขาถือโทนไว้ในมือซ้าย แล้วใช้กำปั้นขวาทุบหน้ากลองเป็นระยะ ๆ โทนนั้นทำด้วยดิน (เผา)  รูปร่างเหมือนขวด แต่ไม่มีก้น แต่หุ้มหนังแทน มีเชือกผูกรัดกระชัยไว้กับคอ (ขวด) นั้น
            ๙. แตร และกลอง  ชาวสยามชอบแตรของเราเป็นที่สุด แตราของเขานั้นมีขนาดเล็ก และเสียงแหลม เรียกว่า แตร นอกจากนี้ยังมีกลองแท้ ๆ อีกเรียกว่า กลอง  กลองของเขาจะมีขนาดย่อมกว่าของเรา แต่ก็มิได้ใช้คล้องไหล่  หากเอาหน้ากลองด้านหนึ่งตั้งลงกับพื้น แล้วตีอีกหน้าหนึ่ง คนตีนั่งขัดสมาธิอยู่หน้ากลอง เขาใช้กลองนี้ตีควบไปกับการร้องด้วย และจะทำเฉพาะในการฟ้อนรำเท่านั้น
            ๑๐. ชาวสยามมีเครื่องประโคมเทียมเข้าในขบวนแห่  ในวันที่คณะฑูต (ฝรั่งเศส)  เข้าเฝ้าพระเจ้ากรุงสยาม เป็นครั้งแรก ในลานพระราชมณเฑียรชั้นใน เห็นคนตั้งร้อยหมอบอยู่เป็นแถว  บางคนถือแตรเล็่กฝีมือหยาบ ๆ ไว้เพื่ออวดโดยไม่ได้เป่าเลย  บางคนมีกลองใบยอ่ม ๆ วางไว้ตรงหน้า แต่ไม่เห็นได้ตี
            ๑๑. การกรีฑา  ชาวสยามมิได้ฝึกฝนการกรีฑา หรือการกีฬาบริหารร่างกาย ยิ่งไปกว่าการบริหารจิตใจเลย เขาไม่รู้จักวิชาขี่ม้า สาตราวุธก็ไม่มี พระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานให้ก็ต่อเมื่อบุคคลนั้น มีทุนทรัพย์พอที่จะซื้อหามาได้เท่านั้น  และจะฝึกท่าการใช้สาตราวุธ ก็แต่โดยพระราชบัญชาสถานเดียว ชาวสยามไม่ยืนยิงปืนเล็กยาวเลย จะยิงปืนก็ต้องคุกเข่าข้างหนึ่งลงกับพื้นดิน มักจะเป็นท่านั่งทับส้นไว้ข้างหนึ่ง ขาอีกข้างหนึ่งเหยียดไปข้างหน้า ไม่ได้ย่อเข่า เดินแถวก็ไม่ค่อยจะเป็น ไม่รู้จักที่จะวางเท้าอย่างไร  ให้สง่าผ่าเผย เพราะติดนิสัยยอบย่อตัวจนเคยชิน  ครูทหารชาวฝรั่งเศสเป็นผู้สอนให้ชาวสยามยืนตรงถืออาวุธ  และก่อนหน้าที่เรือกำปั่นของพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสจะมาถึงประเทศสยามนั้น แม้แต่ทหารยามก็ยังนั่งกับพื้นดินอยู่ ไม่เพียงแต่จะมิได้ฝึกวิ่งเท่านั้น แม้แต่การเดินก็มิได้ฝึกกัน การชกมวยปล้ำ และมวยหมัดกับศอก เป็นอาชีพหากินของพวกนักมวยเท่านั้น
            การแข่งเรือดูเหมือนจะเป็นกีฬาอย่างเดียวของชาวสยาม การพายเรือกับการแจวเรือยึดกันเป็นอาชีพ ได้ตั้งแต่อายุได้ ๔ - ๕ ขวบ  ดังนั้น เขาจึงแจวเรือได้สามวันสามคืน โดยไม่ต้องหยุดพักผ่อน
บทที่สิบสาม ฝีมือในการช่าง
            ๑. ชาวสยามเป็นช่างที่เลว เพราะเหตุใด  ในกรุงสยามไม่มีบริษัทหรือองค์การรวมช่างฝีมือให้เป็นปึกแผ่น และวิชาช่างก็ไม่เจริญในหมู่ชาวสยาม มิใช่เนื่องจากความเกียจคร้านของพวกเขาอย่างเดียว หากเนื่องจากรัฐบาลของเราด้วย โดยเหตุที่ทรัพย์สินของประชาชนไม่อยู่ในฐานะที่ปลอดภัย นอกจากซ่อนเร้นปิดบังไว้อย่างมิดชิดเท่านั้น ทุกคนจึงมีความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ วิชาช่างทุกสาขาจึงไม่สู้มีความจำเป็นแก่พวกเขาเท่าใดนัก และช่างก็ไม่รู้มูลค่าของงานที่เขาต้องลงทุนลงแรงไป ยิ่งไปกว่านั้นชายฉกรรจ์ต้องไปทำงานหลวงเสียปีละหกเดือน ไม่มีใครกล้าแสดงตนว่า เป็นช่างผู้ชำนาญในวิชาใดวิชาหนึ่ง ด้วยเกรงว่าจะถูกใช้งานไปชั่วนาตาปี โดยมิได้รับค่าตอบแทนแต่ประการใด และโดยเหตุที่บรรดาลูกทั้งหลานถูกจ่ายให้ไปทำงานจิปาถะ ทุกคนจึงต้องขวนขวายฝึกตนให้รู้จักทำงานเป็นอย่างละนิดอย่างละหน่อย พอให้หลังพ้นหวายเท่านั้น ชาวสยามจึงไม่รู้งานและไม่ประสงค์จะรู้งานอย่างอื่น นอกจากงานที่ตนถูกใช้ให้ทำจำเจอยู่เท่านั้น เขาไม่เดือดร้อนอะไร แม้จะใช้ลูกมือสัก ๕๐๐ คน ระดมทำงานอยู่หลายเดือน โดยที่ชาวยุโรปเพียงไม่กี่คนซึ่งได้รับค่าแรงดี อาจทำเสร็จในเวลาไม่กี่วัน ถ้ามีชาวต่างประเทศไปฝึกสอน หรือแนะนำให้ใช้เครื่องจักรยนตร์กลไก เขาก็จะลืมวิธีใช้เสียทันทีที่พระเจ้าอยู่หัวทรงลืมไปแล้ว
            ๓. กระจกหน้าต่างแก้วเจียระไนของจีน  ประกอบด้วยเส้นกระจกใหญ่ขนาดเส้นฟางข้าว เรียงขนานไปในทางเดียวกัน ใช้กระดาษกาวเชื่อมหัวต่อเช่นเดียวกับที่เราเชื่อมอัดแผ่นกระจกเข้ากับกรอบหน้าต่างของเรา บางทีก็เขียนรูปภาพทับลงบนกระจกเหล่านี้ มักใช้ทำฉากลับแล หลังฉากจะจุดโคมไฟตั้งทิ้งไว้
            ๔. ชาวสยามใช้โลหะธาตุอย่างไร  ชาวสยามรู้จักใช้และนำไปหล่อรูปต่าง ๆ โดยหุ่นพิมพิ์แล้วหุ้มองค์พระปฏิมากร ซึ่งสร้างด้วยอิฐและปูนขนาดใหญ่ โดยเขาแผ่ออกได้บางมาก เครื่องราชูปโภคบางชิ้นของพระเจ้ากรุงสยาม และฝักดาบที่ทำด้วยเหล็กกับด้ามกฤช ที่พระราชทานให้แก่ขุนนาง และแก่ชาวต่างประเทศบางคนก็หุ้มด้วยแผ่นทองคำหรือแผ่นเงิน ส่วนงานช่างทองรูปพรรณก็พอเป็นกันบ้าง แต่ไม่รู้จักขัดเพชรพลอย และเจียระไนแต่ประการใด
            ๕. ชาวสยามเขียนอักษรบนแผ่นทองคำอย่างไร  ชาวสยามเป็นช่างกาไหล่ทองชั้นดี และรู้จักวิธีตีแผ่ทองคำเป็นแผ่นบางได้ดีพอใช้ ทุกครั้งที่พระเจ้ากรุงสยามจะทรงมีพระราชอักษรสารไปยังกษัตริย์องค์อื่น พระองค์จะโปรดให้จารึกข้อความศุภอักษรในสุพรรณบัฏ อันบางราวกับแผ่นกระดาษ ตัวอักษรที่จารึกลงนั้นกระทำโดยวิธีกดลากปลายเหล็กจารไปทื่อๆ เช่นกับที่เราเขียนคำจารึกในแผ่นศิลา
            ๖. ชาวสยามเป็นช่างตีเหล็กที่ไม่ดีและไม่รู้จักวิธีฟอกหนัง  เขาใช้เหล็กที่หล่อแต่เพียงครั้งแรกครั้งเดียวเท่านั้น เพราะชาวสยามเป็นช่างตีเหล็กที่ไม่ดีเลย ม้าของเขาก็มิได้ใส่เกือก มีแต่โกลนทำด้วยเส้นเชือกและบังเหียนอย่างหยาบ ๆ เท่านั้น ไม่มีเครื่องอานที่ดีกว่านี้ค่าที่ไม่รู้จักวิธีฟอกหนังและวิชาช่างหนังแต่ประการใดในกรุงสยามเลย
            ๗. ชาวสยามทอผ้าด้วยด้ายเส้นหยาบบ้าง ไม่มีการทอผ้าด้ายเส้นละเอียดเลย  ด้ายที่ปั่นใช้กันมีแต่เส้นใหญ่ ๆ แถมแต้มสีเป็นลวดลายให้เลอะเทอะไม่น่าดู และทอเฉพาะแต่ในพระนครเท่านั้น ไม่เห็นมีการทอด้วยหลอดไหม ส่วนขนแกะหรือพรมกันเลย ขนแกะก็หายาก ชาวสยามเข้าใจการปักกรองและภาพฝีมือนั้นก็ดูงามตาดี
            ๘. ภาพจิตรกรรมของชาวสยามและชาวจีน  ได้เห็นภาพจิตรกรรมฝาผนังอันงดงามในโบสถ์หลังหนึ่ง สีจัดมาก ไม่มีส่วนสัดเหมาะสมกับรูปคน รูปบ้าน รูปต้นไม้จริง ๆ
            ชาวสยามกับชาวจีน  ไม่รู้จักวาดภาพสีน้ำมัน และเป็นช่างเขียนฝีมือเลว ชาวสยามได้เสริมสิ่งที่วิจิตรพิสดารลงในภาพวาด เขาคิดเขียนต้นไม้ ดอกไม้ นก และสัตว์อื่น ๆ ซึ่งไม่มีตัวตนในโลก
บทที่สิบสี่ การค้าขายของชาวสยาม
            ๑. การหาปลากับค้าขายเป็นอาชีพสองอย่างที่ชาวสยามทำอยู่แทบทุกคน  แต่การค้าขายภายนอก พระเจ้ากรุงสยามทรงผูกขาดไว้แทบทั้งสิ้น การค้าขายภายในเป็นสิ่งเล็กน้อยมาก ไม่ทำให้ผุ้ใดสร้างสมบัติไว้มากมาย ความเป็นอยู่อย่างง่าย ๆ ทำให้ชาวสยามมิได้ขวนขวายประกอบงานช่างส่วนใหญ่ให้เป็นลำเป็นสัน เป็นเหตุให้ชาวสยามไม่ขวนขวายในการขายสินค้าอันจำเป็นแก่ชาวยุโรป
            ๒. ชาวสยามเขียนหนังสือสัญญาเงินกู้อย่างไร  ในการกู้ยืม มีบุคคลที่สามเป็นผู้เขียนหนังสือสัญญา และเพียงเท่านี้ก็พอที่จะพิจารณากันในศาลได้ ด้วยศาลจะสันนิษฐานไว้ก่อนเป็นการตรงกันข้ามกับคำที่ลูกหนี้ปฏิเสธ โดยอาศัยองค์พยานสองประการ จากตัวหนังสือสัญญา และผู้เขียนหนังสือสัญญา
            ๓. อะไรเป็นลายมือชื่อของชาวสยาม ชาวสยามมิได้ลงลายมือชื่อในหนังสือใด ๆ และไม่มีการประทับตราในหนังสือส่วนบุคคล จะมีแต่ตุลาการเท่านั้น ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินพระราชทานให้เป็นตราประจำตำแหน่ง ส่วนเอกชนก็ทำเป็นแกงไดไว้เท่านั้น เป็นการลงนามย่อที่นิยมใช้ และแต่ละคนจำแกงไดที่ตนขีดไว้ได้
            ๔. ไม่มีเจ้าพนักงานทำหนังสือบริคณห์  ชาวสยามมิค่อยได้ซื้อขายอสังหาริมทรัพย์กัน จึงไม่มีความจำเป็นต้องมีหนังสือสัญญาในระยะยาว และไม่มีความจำเป็นต้องมีเจ้าหนักงานเพื่อการนี้
            ๕. การค้าเล็ก ๆ น้อย ๆ  ชาวสยามไว้ใจกันมาก ถึงขนาดที่ตลาดปสานผู้ขายไม่ได้นับเงินของผู้ซื้อ และผู้ซื้อก็ไม่จู้จี้เลือกสินค้า
            ๖. ชาวสยามไม่ใช้ไม้หลาวัดผ้า ตลาดเริ่มติดตั้งแต่ห้าโมงเย็นไปถึงสอง - สามทุ่ม เขาซื้อผ้าฝ้ายและผ้าป่านกันทั้งม้วน และถือว่าอนาถามากถ้าจะซื้อผ้ากันคราวละแขน อันหมายถึงศอกกับศอก
            ๗. ชาวสยามมีไม้วาสำหรับวัดอะไรต่าง ๆ โดยเฉพาะใช้วัดถนน  ไม้วายาวเท่ากับหนึ่งตัวซ์ (มาตราวัดโบราณ ยาว ๑.๙๔๙ เมตร) เขาใช้ไม้วานี้วัดในการก่อสร้าง การรังวัดที่ดิน และอาจใช้วัดอย่างอื่น ๆ ด้วย โดยเฉพาะถนนหนทางหรือแม่น้ำลำคลอง จากกรุงสยาม (อยุธยา) ถึงเมืองละโว้ ทุก ๆ ลี้จึงมีไม้หลักปักหมายไว้ มีป้ายตอกบอกจำนวนลี้ไว้
            ๘. ชาวสยามใช้ทะนานตวงข้าวและเหล้า  ชาวสยามใช้กะโหลกมะพร้าว หรือทะนานเป็นเครื่องตวงเมล็ดพันธ์ และเครื่องดื่ม เขาสอบความจุของทะนานด้วยเบี้ยขนาดย่อม ซึ่งใช้เป็นเงินย่อยในเมืองสยาม ทะนานหนึ่งจุได้พันเบี้ย บางทะนานห้าร้อยเบี้ย การตวงข้าวใช้กระบุงเรียกว่าสัด ทำด้วยไม้ไผ่สาน
            การตวงเหล้าใช้ครุ เรียกว่า คะนาน หนึ่งในสี่คะนานเรียกว่า แล่ง และสี่สิบสัดเท่ากับหนึ่งบั้น สี่สิบบั้นเป็นหนึ่งเกวียน กล่าวว่าข้าวหนึ่งบั้นหนักร้อยชั่ง ตกประมาณ ๒๒๕ ปอนด์ ข้าวหนัก ๑ ปอนด์ พอกินได้ในหนึ่งวัน และมีราคาเพียงสิอาร์ด
            ๙. ชาวสยามใช้เงินตราเป็นเครื่องชั่งน้ำหนัก  เงินตราของเขามีลักษณะไม่น่าดูเลย น้ำหนักที่ชั่งได้เท่ากับจำนวนเงินตรา ที่นำไปใช้เป็นลูกชั่ง จึงใช้ชื่อ ๆ เดียวกัน

A Tical in its natural size viewed several ways

            ๑๐. เงินตราสยาม  เหรียญกษาปน์เงินนั้นรูปพรรณเหมือนกันหมด และประทับตราอย่างเดียวกันแต่มีขนาดต่างกัน รูปร่างเป็นแท่งกลมเล็ก ๆ หรือลูกไม่สั้นมาก แล้วพดที่ตรงกลางจนปลายแท่งทั้งสองข้างชนกัน ส่วนตราจะประทับไว้ใกล้ ๆ กันที่ตรงกลาง หนึ่งบาท มีน้ำหนักประมาณครึ่งเอกิว ไม่มีเหรียญกษาปน์ทองคำหรือทองแดง ทองคำเป็นสินค้าชนิดหนึ่งมีค่า ๑๒ เท่าของเงิน
            ๑๑. เงินตราจีน  เมืองอื่นไม่ได้ใช้ทองคำ หรือเงินทำเป็นกษาปน์ แต่ใช้วิธีตัดแท่งโลหะเหล่านั้นเป็นท่อน ๆ ไม่เป็นรูปทรงอะไรทั้งนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ตาเต็ง (ใช้ชั่งทอง) และหินฝนทอง
Figure of Coupan a Gold Coin of Japan seen on both sides

            ๑๒. กูปัง คือ เหรียญกษาปน์ทองคำของญี่ปุ่น  ชาวญี่ปุ่นมีเหรียญกษาปน์ทองคำเป็นเงินตรา รูปร่างเกือบเป็นรูปไข่  ตีตราด้วยเหล็กแม่พิมพ์
            ๑๓. ใช้เบี้ยเป็นเงินย่อยราคาต่ำที่สุดในสยาม  เบี้ยเป็นเปลือกหอยเล็ก ๆ เปลือกหอยชนิดนี้งมกันได้มากที่เกาะมาลดีฟ บางทีก็มีมาจากเมืองฟิลิปปินส์ แต่เป็นจำนวนน้อย
            ๑๔. การใช้เบี้ยแพร่ไปถึงไหนบ้าง  เห็นมีใช้กันมากในอินเดีย และมีใช้เกือบทั่วตามชายฝั่งอัฟริกา เมื่อใดมีเรือกำปั่นบรรทุกเบี้ยเข้ามาก ๆ ราคาเบี้ยก็ตกลง เบี้ยนั้นนับว่าเป็นสินค้าชนิดหนึ่ง ในเมืองสยาม หนึ่งเฟื้องหรือหนึ่งในแปดของบาทเป็น ๘๐๐ เบี้ย
บทที่สิบห้า อุปนิสัยของชาวสยาม
            ๑. ชาวสยามเป็นคนดี  ชาวสยามอยู่ดีกินดี เข้าของราคาถูก ใช้ชีวิตสันโดษ มีเวลาว่างมาก เขาจะไม่ทำบาป เพื่อความสนุกเพลิดเพลินหรือด้วยมีใจสูง ชาวสยามมีฐานะสูงกว่าสามัญเล็กน้อย จะไม่นิยมความมึนเมา ถือว่าการดื่มเหล้าเป็นสิ่งน่าละอายอย่างยิ่ง
            ๒. การลอบทำชู้ไม่ค่อยมีในสยาม  หญิงสาวสยามไม่เล่นการพนัน ไม่ต้อนรับผู้ชายพายเรือ การมหรสพก็มีห่างมากในกรุงสยาม
            ๓. ชายสยามหึงหวงภรรยานัก  หญิงราษฎรสามัญ ซึ่งต้องทำมาค้าขาย มีอิสระที่จะไปไหนมาไหนได้เต็มที่ ส่วนภรรยาพวกขุนนางผู้ใหญ่ จะไม่ค่อยได้สูสีกับใครนักและไม่ค่อยได้ออกไปนอกบ้าน นอกจากไปเยี่ยมญาติและไปวัดบ้างเป็นบางคราว
            ๔. เกียรติภูมิของสตรีชาวชมพูทวีป  สตรีที่ทรงคุณธรรม ขณะเกิดสงครามย่อมสมัครใจที่จะให้สามีฆ่าตนเสียยิ่งกว่ายอมตกไปอยู่ในเงื้อมมือข้าศึก แต่ก็มีบางคนลักลอบเล่นกามกรีทาอย่างลับ ๆ โดยยอมเสี่ยงกับการสูญเสียศักดิ์ศรีของตน มีผู้เล่าว่าในหมู่บาทบริจาริกของพระเจ้ากรุงสยาม แม้จะอยู่ในที่แวดล้อมที่กวดขันมั่นคงก็ตาม บางคนก็ยังสบโอกาสมีชู้ชายจนได้ วิธีการที่พระเจ้าอยู่หัวองค์นี้ทรงลงอาญาแก่หญิงจำพวกนี้คือ ในชั้นแรกก็ให้ม้าปรันเสีย แล้วจึงให้ประหารชีวิต เมื่อไม่กี่ปีมานี้ก็ทรงส่งให้เสือขบเสียคนหนึ่ง
            ๕. ชาวสยามหวงลูกสาว  ขุนนางสยามหวงลูกสาวเท่ากับหวงภรรยา ถ้าลูกสาวคนใดทำชั่ว ผู้เป็นพ่อก็จะขายลูกสาวให้แก่ชายผู้หนึ่ง ซึ่งมีความชอบธรรมที่จะเกณฑ์ให้ผู้หญิงที่ตนซื้อมาเป็นหญิงแพศยา หาเงินได้โดยชายผู้นั้นต้องเสียภาษีถวายพระเจ้าแผ่นดิน กล่าวกันว่าชายผู้นี้มีหญิงโสเภณีอยู่ในปกครองถึง ๖๐๐ คน ล้วนเป็นลูกขุนนาง นอกจากนั้นชายผู้นี้ยังรับซื้อภรรยาที่สามีขายมาเป็นทาสีด้วยโทษคบชู้สู่ชาย
            ๖. ชาวสยามเคารพผู้สูงอายุ
            ๗. ชาวสยามพูดปดเก่ง  การพูดเท็จต่อผู้ใหญ่ ขุนนางผู้ใหญ่ผู้บังคับบัญชาเป็นผู้ลงอาญาเองตามควรแก่โทษ และพระเจ้ากรุงสยามยิ่งลงพระอาญา ยิ่งกว่าขุนนางผู้ใหญ่คนใดหมด
            ๘. ครอบครัวสยามสนิทสนมกลมเกลียวกันดีมาก
            ๙. การขอทานไม่ค่อยมีและถือว่าเป็นข้อน่าอับอาย  สังเกตเห็นว่า คนขอทานมีอยู่เพียงสามจำพวกเท่านั้นคือ คนแก่ คนพิการ และคนไม่มีญาติ ญาติพี่น้องจะไม่ยอมให้ญาติของตนออกขอทานเป็นอันขาด เขาจะเลี้ยงญาติที่ขัดสนและไม่สามารถทำมาหากินได้
            ๑๐. ชาวสยามเป็นขโมย  การขโมยเป็นเรื่องที่น่าอับอายยิ่งกว่าการขอทาน บ้านเรือนชาวสยามไม่มั่นคงแข็งแรงพอป้องกันขโมยได้ เท่ากับตู้นิรภัยชั้นเลวของเรา ชาวสยามจะไม่ปฏิเสธการลักขโมยเลยเมื่อมีโอกาส ชาวสยามเห็นว่าเป็นสิ่งยุติธรรม ที่ไม่เก็บข้าวของของใครที่ตกหาย ด้วยเห็นว่าเป็นการฉวยโอกาสโดยได้มาง่ายเงินไป
            ๑๑. ตัวอย่างของการลักทรัพย์บางราย  เมื่อครั้งพระเจ้ากรุงฝรั่งเศสทรงจัดให้คณะทูตสยามเดินทางไปมณฑลฟรานเดอร์ ขุนนางสยามผู้หนึ่ง ได้ฉกฉวยเอาเบี้ยในบ้านคณะทูต ที่ได้รับเชิญไปในงานเลี้ยงอาหารค่ำ ไปประมาณ ๒๐ อัน
            ๑๒. ตัวอย่างอีกรายหนึ่ง  เจ้าพนักงานพระคลังหลวงของพระเจ้ากรุงสยามผู้หนึ่งได้ลักพระราชทรัพย์ไป พระเจ้ากรุงสยามจึงทรงให้ประหารชีวิตผู้นั้น โดยกรอกน้ำเงินที่หลอมละลายหนัก ๓ - ๔ ออนซ์ ลงไปในลำคอ ต่อมาผู้ที่ทำหน้าที่ล้วงคอผู้ตายเพื่อนำเนื้อเงินดังกล่าวส่งคืนพระคลังหลวงได้ยักยอกเอาเนื้อเงินไปเสียส่วนหนึ่ง เมื่อความทราบถึงพระเจ้ากรุงสยามพระองค์จึงทรงให้ประหารชีวิตผู้นั้นเสีย โดยทำนองเดียวกันเจ้าพนักงานคนที่สามที่ทำหน้าที่อย่างเดียวกันก็ยังยักยอกเนื้อเงินไปส่วนหนึ่งจนได้ จนในที่สุดพระเจ้ากรุงสยามได้พระราชทานอภัยโทษให้โดยมีพระราชดำรัสว่า "พอกันทีเถิด มิฉะนั้นข้าคงต้องสั่งให้ประหารชีวิตราษฎรของข้าให้ตายกันไปหมดบ้านหมดเมืองเป็นแน่"
            ๑๓. โจรในป่าสยามและในเมืองจีนไม่ค่อยฆ่าเจ้าทรัพย์  ชาวสยามที่หลบหนีไปอยู่ในป่าเพื่อให้พ้นจากการเกณฑ์งานหลวงนั้นมักจะปล้นคนเดินทางโดยเกือบจะไม่ได้ฆ่าเจ้าทรัพย์เลยสักรายเดียว ในป่าเมืองจีนก็เต็มไปด้วยโจรพวกนี้
            ๑๔. ชาวสยามเป็นพ่อค้าที่ซื่อตรง  การขูดรีดดอกเบี้ยโดยไม่มีขอบเขตและความโลภ กฎหมายสยามไม่ได้จำกัดอัตราดอกเบี้ยไว้
            ๑๕. ชาวสยามมีความพยาบาทรุนแรง  เพราะเหตุใด ชาวสยามเกือบไม่มีถ้อยร้อยความถึงโรงศาล จะมีที่เป็นความแพ่งเพียงเล็กน้อย เป็นความอาญาส่วนมาก ส่วนมากเป็นการใส่ร้ายกัน เป็นเหตุให้เกิดความเจ็บแค้นพยาบาท ปกติชาวสยามรังเกียจการเลือดตกยางออก แต่เมื่อเกลียดชังใครอย่างหมายเอาชีวิตแล้วก็จะฆ่าหรือวางยาพิษให้ตาย
            ๑๖. คุณลักษณะอย่างอื่นของชาวสยาม  อาหารการกินของชาวสยามประกอบด้วยน้ำ ๆ ยิ่งกว่าชาวอินเดียน ชาวสยามเป็นผู้มีนิสัยอ่อนโยน มีสัมมาคารวะ ใจเย็น และไม่ค่อยมีโทสะรุนแรงนัก คุมสติไว้ได้นานมาก แต่เมื่อความโกรธลุกโพลงขึ้นมา แล้วดูเหมือนจะมีความยับยั้งชั่งใจน้อยกว่าพวกเรา ความขี้อาย ความโลภ ความสะกดอดกลั้น ความเงียบขรึม และแนวโน้มในการกล่าวเท็จจะทวีขึ้นในกมลสันดาน ชาวสยามมีความยึดมั่นในขนบธรรมเนียมประเพณี เท่า ๆ กับความเกียจคร้าน และความเคารพต่อบรรพชน ชาวสยามไม่อยากรู้อยากเห็น หรือนิยมชมชื่นอะไรทั้งนั้น ถ้าใครประพฤติต่อเขาอย่างมีสัมมาคารวะ ก็จะทะนงกำเริบเย่อหยิ่งใหญ่ แต่กลับยอมตนเองแก่บุคคล ที่ใช้อำนาจเอาแก่ตน เป็นคนเจ้าเล่ห์และกลับกลอกอยู่เสมอ
            ๑๗. มิตรภาพของชาวสยามไว้ใจไม่ได้ วิธีทำสัตย์ว่าจะเป็นมิตรต่อกันตลอดปี ทำด้วยการดื่มเหล้าโรงในจอกเดียวกัน แต่ถ้าจะให้หนักแน่นก็จะต้องดื่มเลือดซึ่งกันและกัน แต่กระนั้นก็ยังไม่วายที่จะพยศกัน
            ๑๘. ชาวสยามมีความอดกลั้นมากกว่าเรา เพราะเกียจคร้านกว่า  เขาจะยอมเคลื่อนไหวลงมือทำการงานก็ต่อเมื่อมีความจำเป็นจริง ๆ ชาวสยามเคราะห์ดีที่เกิดมาเป็นคนเจ้าปัญหา