วันที่ 09 พฤษภาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7466 ข่าวสดรายวัน
โดย ณอร อ่องกมล
ที่มา
เพื่อ เรียงร้อยเรื่องราวความน่าสนใจของชีวิตชาวโปรตุเกส ในวาระแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุ เกส สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศ การที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องจนถึงปลายปี
โดย ณอร อ่องกมล
ที่มา
เมื่อ เอ่ยถึงโปรตุเกส สิ่งที่ทำให้คนไทยนึก ถึงอาจเป็นขนม "ฝอยทอง" ตามฉายาของประเทศนี้ ซึ่งเป็นขนมที่เผยแพร่เข้ามาในไทยพร้อมกับทองหยิบและทองหยอด ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา โดยสตรีนามว่า ดอญา มารี กีมาร์ เดอ ปีนา หรือ ท้าวทองกีบม้า
ส่วนบรรดาแฟนฟุตบอลยุโรป อาจนึกถึงนักเตะซูเปอร์สตาร์อย่าง คริสเตียโน่ โรนัลโด้, หลุยส์ นานี่ หรือ โค้ชจอมซ่า โฮเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งออกแอ๊กชั่นให้ชมกันทุกสัปดาห์
แต่ความสัมพันธ์ของไทยกับโปรตุเกสไม่ได้มีผิวเผินเพียงเท่านี้ ในด้านประวัติศาสตร์ ไทยและโปรตุเกสดำเนินความสัมพันธ์มาครบถึง 500 ปีแล้วในปีนี้ เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และนานที่สุดในบรรดาประเทศยุโรปที่มาเยือนสยามประเทศ
มอง ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2054 (ค.ศ. 1511) โปรตุเกสเริ่มทำการค้ากับประเทศในแถบเอเชีย และยึดครองดินแดนมะละกาได้เป็นที่สำเร็จ อะโฟซู เดอ อะบูแคร์ก ส่งทูตที่มีนามว่า ดูอาร์ต เฟอร์นันเดส เข้ามายังราชสำนักในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการเข้ามายังประเทศสยามมิได้มีเจตนาอันเป็น ปฏิปักษ์แต่อย่างใด
ผลพลอยได้จากการเจรจาในครานั้น ชาวโปรตุเกสหลายคนได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เป็นที่ดินและการอนุญาตให้ตั้งรกรากในสยามได้ ส่งผลให้การค้าขาย และการเผยแผ่ศาสนาเกิดขึ้น รวมไปถึงความรู้ทางยุทธศาสตร์การรบและอาวุธสมัยใหม่ ที่ โปรตุเกสเชี่ยวชาญ ช่วยให้สยามรักษาอธิปไตยในช่วงสงครามกรุงศรีอยุธยาไว้ได้
ส่วนบรรดาแฟนฟุตบอลยุโรป อาจนึกถึงนักเตะซูเปอร์สตาร์อย่าง คริสเตียโน่ โรนัลโด้, หลุยส์ นานี่ หรือ โค้ชจอมซ่า โฮเซ่ มูรินโญ่ ซึ่งออกแอ๊กชั่นให้ชมกันทุกสัปดาห์
แต่ความสัมพันธ์ของไทยกับโปรตุเกสไม่ได้มีผิวเผินเพียงเท่านี้ ในด้านประวัติศาสตร์ ไทยและโปรตุเกสดำเนินความสัมพันธ์มาครบถึง 500 ปีแล้วในปีนี้ เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน และนานที่สุดในบรรดาประเทศยุโรปที่มาเยือนสยามประเทศ
มอง ย้อนกลับไปเมื่อปีพ.ศ.2054 (ค.ศ. 1511) โปรตุเกสเริ่มทำการค้ากับประเทศในแถบเอเชีย และยึดครองดินแดนมะละกาได้เป็นที่สำเร็จ อะโฟซู เดอ อะบูแคร์ก ส่งทูตที่มีนามว่า ดูอาร์ต เฟอร์นันเดส เข้ามายังราชสำนักในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยา เพื่อสร้างความเชื่อมั่นว่าการเข้ามายังประเทศสยามมิได้มีเจตนาอันเป็น ปฏิปักษ์แต่อย่างใด
ผลพลอยได้จากการเจรจาในครานั้น ชาวโปรตุเกสหลายคนได้รับพระมหากรุณาธิคุณ เป็นที่ดินและการอนุญาตให้ตั้งรกรากในสยามได้ ส่งผลให้การค้าขาย และการเผยแผ่ศาสนาเกิดขึ้น รวมไปถึงความรู้ทางยุทธศาสตร์การรบและอาวุธสมัยใหม่ ที่ โปรตุเกสเชี่ยวชาญ ช่วยให้สยามรักษาอธิปไตยในช่วงสงครามกรุงศรีอยุธยาไว้ได้
1.-โบสถ์ซางตาครู้ส 2.-โบสถ์คอนเซ็ปชัญ 3.-ภาพศิลปะไทย-โปรตุเกส 4.-โถงรับแขกภายในสถานทูตโปรตุเกส 5.-ห้องแต่งตัวของท่านทูต 6.-ดร.จอร์เจ ตอร์ริช เปเรย์รา 7.-ภาพเขียนสถานกงสุลและบ้านมิชชันนารี |
ครั้น เมื่อสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ มอบที่ดินเพื่อก่อตั้งโบสถ์ อันเป็นศาสนสถานให้ชาวคริสตังโปรตุเกสประกอบพิธีกรรมทางศาสนาได้อย่างอิสระ
โบสถ์คอนเซ็ปชัญ โบสถ์คาทอลิกที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นหลังแรกที่ก่อสร้างขึ้น
เมื่อสิ้นสุดสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระ ราชทานที่ดินในราชธานีกรุงธนบุรี เพื่อสร้างโบสถ์ซางตาครู้ส
และในสมัยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ก็ได้พระราชทานที่ดินอีกแปลง เพื่อสร้างวัดพระแม่ลูกประคำ กาลหว่าร์
ในปีพ.ศ.2329 ชาวโปรตุเกสและคริสตังไทยเชื้อสายโปรตุเกส ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ทั้ง 3 แห่งนี้ จนปัจจุบันกลายเป็นชุมชนไทย-โปรตุเกส ที่ลูกหลานสองเชื้อชาติยังคงสืบทอดวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษเอาไว้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง
โบสถ์คอนเซ็ปชัญ โบสถ์คาทอลิกที่เก่าแก่ที่สุดในกรุงเทพฯ เป็นหลังแรกที่ก่อสร้างขึ้น
เมื่อสิ้นสุดสมัยกรุงศรีอยุธยา สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชพระ ราชทานที่ดินในราชธานีกรุงธนบุรี เพื่อสร้างโบสถ์ซางตาครู้ส
และในสมัยของสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ก็ได้พระราชทานที่ดินอีกแปลง เพื่อสร้างวัดพระแม่ลูกประคำ กาลหว่าร์
ในปีพ.ศ.2329 ชาวโปรตุเกสและคริสตังไทยเชื้อสายโปรตุเกส ได้ย้ายถิ่นฐานเข้ามาอยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับสถานที่ทั้ง 3 แห่งนี้ จนปัจจุบันกลายเป็นชุมชนไทย-โปรตุเกส ที่ลูกหลานสองเชื้อชาติยังคงสืบทอดวัฒนธรรม และประเพณีดั้งเดิมของบรรพบุรุษเอาไว้อย่างไม่เปลี่ยนแปลง
เพื่อ เรียงร้อยเรื่องราวความน่าสนใจของชีวิตชาวโปรตุเกส ในวาระแห่งการเฉลิมฉลองครบรอบ 500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุ เกส สถานเอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย จัดนิทรรศ การที่เกี่ยวข้องต่อเนื่องจนถึงปลายปี
-บ้านพักรับรอง สถานทูตโปรตุเกส |
ดร.จอร์ เจ ตอร์ริช-เปเรย์รา เอกอัครราชทูตโปรตุเกสประจำประเทศไทย กล่าวว่า นิทรรศการจะเริ่มตั้งแต่วันที่ 10 พ.ค. เป็นต้นไป เริ่มจากนิทรรศการ "การสืบสานมรดกทางประวัติ ศาสตร์ของโปรตุเกสทั่วโลก" ด้วยความร่วมมือกับมูลนิธิกาลูสต์ กุลแบงเกียน ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
นำเสนอประวัติศาสตร์การขยายอิทธิพลทางทะเลของโปรตุเกส และร่องรอยการแลกเปลี่ยนทางวัฒน ธรรมนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา
นำเสนอประวัติศาสตร์การขยายอิทธิพลทางทะเลของโปรตุเกส และร่องรอยการแลกเปลี่ยนทางวัฒน ธรรมนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 เป็นต้นมา
รวมถึงการจัดแสดงแหล่งโบราณสถานโปรตุเกส ที่ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์แล้ว
จาก นั้นในวันที่ 3 มิ.ย. เป็นกิจกรรม "ทัศนศึกษาครึ่งวันตามรอยโปรตุเกส" ด้วยการเยี่ยมชมสถานเอกอัครราชทูตและทำเนียบเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในปีพ.ศ.2403 กับรูปลักษณ์ศิลปะสมัย โคโลเนียล พร้อมเครื่องเรือนที่สืบทอดมาจากอดีตโดยเอกอัครราช ทูตนำชมด้วยตนเองพร้อมเยี่ยมชมวัดพระแม่ลูกประคำ กาลหว่าร์ โบสถ์คอนเซ็ปชัญ โบสถ์ซางตาครู้ส และแวะรับประทานขนมกุฎีจีน ขนมดั้งเดิมของโปรตุเกส
วัน ที่ 7 ก.ค. เป็นนิทรรศการ "อิทธิพลร่วมระหว่างศิลปะไทยและศิลปะโปรตุเกสที่มีต่อกัน" เป็นการนำผลงานการแกะสลักจากงาช้างและหีบโบราณ งานศิลปะที่ ตาวูรา ซือเกยรา ปิงตู นักสะสมศิลปะชาวโปรตุเกส นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ใน เดือนตุลาคมกับนิทรรศการศิลปะ "ภาพแห่งความประทับใจ ไทย-โปรตุเกส" ที่ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม จัดแสดงภาพถ่ายและภาพวาดความประทับจาก 2 ศิลปิน 2 สัญชาติ ไทย-โปรตุเกส เมื่อครั้งได้ไปเยี่ยมเยือนดินแดนของกันและกัน
วันที่ 13 ต.ค. รับฟังการขับร้องเพลง "ฟาดู" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางดนตรีของโปรตุเกส ในงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ ครั้งที่ 13 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยศิลปินดนตรีฟาดูระดับโลก คาเทีย กือเรยรู
ปิด ท้ายการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้วยการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส" ระหว่างวันที่ 2-4 พ.ย. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดกิจกรรมต่างๆ ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะยกระดับและขยายขอบเขตความร่วมมือ และการทำธุรกิจที่จะเป็นประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
โปรตุเกสเป็นประเทศ แรกๆ ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การผูกมิตรของ 2 ประเทศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การรักษามิตรภาพที่ดีต่อกัน แม้เวลาจะผ่านไปนานกว่าครึ่งศตวรรษนั้นสำคัญยิ่งกว่า
เพราะแสดงถึงความเป็นมิตรประเทศที่แท้จริง
จาก นั้นในวันที่ 3 มิ.ย. เป็นกิจกรรม "ทัศนศึกษาครึ่งวันตามรอยโปรตุเกส" ด้วยการเยี่ยมชมสถานเอกอัครราชทูตและทำเนียบเอกอัครราชทูตโปรตุเกส ที่สร้างขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ในปีพ.ศ.2403 กับรูปลักษณ์ศิลปะสมัย โคโลเนียล พร้อมเครื่องเรือนที่สืบทอดมาจากอดีตโดยเอกอัครราช ทูตนำชมด้วยตนเองพร้อมเยี่ยมชมวัดพระแม่ลูกประคำ กาลหว่าร์ โบสถ์คอนเซ็ปชัญ โบสถ์ซางตาครู้ส และแวะรับประทานขนมกุฎีจีน ขนมดั้งเดิมของโปรตุเกส
วัน ที่ 7 ก.ค. เป็นนิทรรศการ "อิทธิพลร่วมระหว่างศิลปะไทยและศิลปะโปรตุเกสที่มีต่อกัน" เป็นการนำผลงานการแกะสลักจากงาช้างและหีบโบราณ งานศิลปะที่ ตาวูรา ซือเกยรา ปิงตู นักสะสมศิลปะชาวโปรตุเกส นำมาจัดแสดงที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ
ใน เดือนตุลาคมกับนิทรรศการศิลปะ "ภาพแห่งความประทับใจ ไทย-โปรตุเกส" ที่ศูนย์การค้า ดิ เอ็มโพเรียม จัดแสดงภาพถ่ายและภาพวาดความประทับจาก 2 ศิลปิน 2 สัญชาติ ไทย-โปรตุเกส เมื่อครั้งได้ไปเยี่ยมเยือนดินแดนของกันและกัน
วันที่ 13 ต.ค. รับฟังการขับร้องเพลง "ฟาดู" อันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะทางดนตรีของโปรตุเกส ในงานมหกรรมศิลปะการแสดงและดนตรีนานาชาติ ครั้งที่ 13 ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย โดยศิลปินดนตรีฟาดูระดับโลก คาเทีย กือเรยรู
ปิด ท้ายการเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ด้วยการสัมมนาวิชาการ เรื่อง "500 ปี ความสัมพันธ์ไทย-โปรตุเกส" ระหว่างวันที่ 2-4 พ.ย. ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
การจัดกิจกรรมต่างๆ ในครั้งนี้ ไม่เพียงแต่ตอกย้ำความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศให้แนบแน่นยิ่งขึ้น แต่ถือเป็นโอกาสอันดีที่จะยกระดับและขยายขอบเขตความร่วมมือ และการทำธุรกิจที่จะเป็นประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย
โปรตุเกสเป็นประเทศ แรกๆ ที่เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับไทย การผูกมิตรของ 2 ประเทศที่แตกต่างกันโดยสิ้นเชิงนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย แต่การรักษามิตรภาพที่ดีต่อกัน แม้เวลาจะผ่านไปนานกว่าครึ่งศตวรรษนั้นสำคัญยิ่งกว่า
เพราะแสดงถึงความเป็นมิตรประเทศที่แท้จริง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น